6 สาเหตุที่ทำให้เกิดมะเร็งต่อมน้ำเหลือง โรคร้ายที่ใกล้ตัวที่ไม่ควรมองข้าม

6 สาเหตุที่ทำให้เกิดมะเร็งต่อมน้ำเหลือง โรคร้ายที่ใกล้ตัวที่ไม่ควรมองข้าม

แชร์เรื่องนี้

มะเร็งต่อมน้ำเหลือง เป็นมะเร็งที่อันตรายเป็นอันดับต้นๆ เสี่ยงต่อการเสียชีวิต และมะเร็งชนิดนี้สามารถเกิดได้กับคนทุกเพศทุกวัย เพราะฉะนั้นจึงไม่ควรมองข้ามโรคนี้ ควรทำความเข้าใจเอาไว้ก่อนดีที่สุด

มะเร็งต่อมน้ำเหลือง คืออะไร

มะเร็งต่อมน้ำเหลือง คืออะไร
มะเร็งต่อมน้ำเหลือง คืออะไร

มะเร็งต่อมน้ำเหลือง (Lymphoma) คือเนื้องอกชนิดหนึ่ง ที่จะเกิดขึ้นกับต่อมน้ำเหลืองในร่างกาย เกิดจากความผิดปรกติของเม็ดเลือดขาวในร่างกายของเรา โดยระบบน้ำเหลือง เป็นหนึ่งในระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย อวัยวะต่างๆ ส่วนใหญ่แล้วล้วนประกอบไปด้วยน้ำเหลือง ไม่ว่าจะเป็น ไขกระดูก ตับ ม้าม ที่จะทำหน้าที่ส่งต่อเม็ดเลือดขาวไปยังส่วนต่างๆ ของร่างกาย เพราะฉะนั้นเมื่อต่อมน้ำเหลืองเสียหายจากเนื้องอก ก็จะสามารถพบความผิดปรกติต่างๆ เกิดขึ้นในร่างกายของเราได้ คือลักษณะเป็นตุ่มก้อน

ชนิดของมะเร็งต่อมน้ำเหลือง

มะเร็งต่อมน้ำเหลือง สามารถจำแนกออกไปได้อีก 2 ประเภท ดังนี้

1.มะเร็งต่อมน้ำเหลืองชนิดนอนฮอดจ์กิน (Non-Hodgkin Lymphoma)

เป็นชนิดที่พบได้เยอะที่สุด มีผู้ป่วยที่เป็นมะเร็งต่อมน้ำเหลืองมากถึง 80-90 เปอร์เซ็นต์ และยังสามารถแบ่งย่อยได้อีก 2 ประเภทคือ

  • แบบค่อยเป็นค่อยไป คือการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็งที่ช้า ผู้ป่วยอยู่ได้นาน แต่ก็ไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้
  • แบบรุนแรง คือการเจริญเติบโตของเซลล์ที่สามารถกระจายได้เยอะ และรวดเร็ว หากตรวจไม่พบตั้งแต่เนิ่นๆ ผู้ป่วยสามารถเสียชีวิตได้ทันทีภายในระยะเวลา 6 เดือน แต่หากตรวจพบและมีการรักษาที่ถูกวิธี ผู้ป่วยก็สามารถหายจากโรคได้

2.มะเร็งต่อมน้ำเหลืองชนิดฮอดจ์กิน (Hodgkin Lymphoma)

พบได้น้อยไม่เกิน 15 เปอร์เซ็นต์ของผู้ป่วยมะเร็งต่อมน้ำเหลืองทั้งหมด

อาการของมะเร็งต่อมน้ำเหลือง

อาการของมะเร็งต่อมน้ำเหลือง
อาการของมะเร็งต่อมน้ำเหลือง

ผู้ป่วยที่เป็นมะเร็งต่อมน้ำเหลือง สามารถสังเกตอาการต่างๆ เบื้องต้นได้ อาการที่พบได้บ่อยมีดังนี้คือ

  • คลำพบก้อนทั่วร่างกาย ลักษณะจะเป็นก้อนแข็งเหมือนก้อนไขมัน กดแล้วไม่รู้สึกเจ็บ พบได้ทั่วร่างกาย เช่น บริเวณขาหนีบ คอ รักแร้ เป็นต้น
  • น้ำหนักลดอย่างรวดเร็ว และรู้สึกเบื่ออาหาร ทานอาหารไม่ได้
  • หากผู้ป่วยมีอาการติดเชื้อด้วย จะมีอาการหนาวสั่น และมีไข้ร่วมด้วย
  • มีอาการอ่อนเพลีย ไม่มีแรง
  • หายใจลำบาก ไอเรื้อรังไม่หาย
  • มีผื่นทั่วร่างกาย และรู้สึกคันตลอดเวลา
  • ผู้ป่วยที่เป็นมะเร็งต่อมน้ำเหลือง จะมีอาการปวดศีรษะรุนแรง

สาเหตุของการเกิดมะเร็งต่อมน้ำเหลือง

สำหรับสาเหตุของการเกิดมะเร็งต่อมน้ำเหลือง ยังไม่เป็นฟันธงแน่นอนลงไปได้อย่างชัดเจนว่าเกิดจากสาเหตุใดกันแน่ แต่จากการวินิจฉัยแล้ว ผู้ป่วยมะเร็งต่อมน้ำเหลือง จะมีสาเหตุที่คล้ายกันดังนี้คือ

สาเหตุของการเกิดมะเร็งต่อมน้ำเหลือง
สาเหตุของการเกิดมะเร็งต่อมน้ำเหลือง
  1. การได้รับสารเคมีเข้าสู่ร่างกายอย่างต่อเนื่อง เช่น เกษตรกรที่ใช้สารเคมีกับพืช มีความเสี่ยงมากกว่าคนที่ไม่ได้รับสารเคมีเข้าสู่ร่างกาย
  2. ผู้ป่วยที่เป็นโรคภูมิคุ้มกันบกพร่อง หรือโรค HIV มีโอกาสเป็นมะเร็งต่อมน้ำเหลืองได้ง่ายกว่าคนปรกติ
  3. เกิดจากการส่งต่อทางพันธุกรรม หากคนในครอบครัวเคยมีประวัติเป็นมะเร็งต่อมน้ำเหลือง ก็สามารถส่งต่อโรคนี้มายังรุ่นลูกรุ่นหลานได้
  4. การติดเชื้อจากไวรัสบางชนิด เช่น ไว้รับ EBV, ไวรัส HIV
  5. คนที่ผ่านการฉายรังสีบ่อยๆ เพราะจะส่งผลกับระบบต่อมน้ำเหลืองในร่างกาย
  6. อายุที่มากขึ้น ผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป มีความเสี่ยงสูงกว่าคนที่อายุน้อย

ระยะของผู้ป่วยมะเร็งต่อมน้ำเหลือง

ผู้ป่วยมะเร็งต่อมน้ำเหลือง สามารถแบ่งออกได้เป็น 4 ระยะ ตามความรุนแรงของอาการดังนี้

  • ระยะที่ 1 เป็นระยะเริ่มต้น ที่จะเกิดเพียงแค่บริเวณใดบริเวณหนึ่งของร่างกาย เช่นบริเวณ รักแร้
  • ระยะที่ 2 ระยะนี้จะเกิดกับต่อมน้ำเหลืองมากว่า 2 จุด  ที่อยู่ด้านเดียวกันกับกะบังลม
  • ระยะที่ 3 ระยะนี้จะพบต่อมน้ำเหลืองทั้งส่วนบนและส่วนล่างของกะบังลม
  • ระยะที่ 4 เป็นระยะที่มะเร็งกระจายออกจากระบบน้ำเหลือง และลุกลามไปยังส่วนอื่นๆ ของร่างกาย เช่น ที่ตับ ม้าม ปอด ไขกระดูก เป็นต้น
วิธีการรักษามะเร็งต่อมน้ำเหลือง

ในการรักษาผู้ป่วยมะเร็งต่อมน้ำเหลือง แพทย์จะทำการวินิจฉัยอย่างละเอียด เพื่อหาแนวทางการรักษาที่เหมาะสมกับผู้ป่วยมากที่สุด บางรายอาจใช้วิธีรักษาเพียงวิธีเดียว แต่บางรายอาจต้องใช้วิธีรักษาหลายอย่างควบคู่กันไป ซึ่งวิธีการรักษาในปัจจุบันมีดังนี้

การใช้ยาให้ออกฤทธิ์เฉพาะที่
การใช้ยาให้ออกฤทธิ์เฉพาะที่
  • การใช้ยาให้ออกฤทธิ์เฉพาะที่ เป็นการใช้ยาเพื่อจุดประสงค์เข้าไปทำลายเซลล์มะเร็งโดยตรง เป็นการป้องกันไม่ให้เซลล์แพร่กระจาย และลุกลามไปยังอวัยวะส่วนอื่นๆ ซึ่งจะทำให้ความรุนแรงของโรคหนักยิ่งขึ้น
การใช้เคมีบำบัด
การใช้เคมีบำบัด
  • การใช้เคมีบำบัด หรือการทำคีโม เป็นการใช้ยาเพื่อทำลายเซลล์มะเร็ง วิธีนี้จะใช้กับผู้ป่วยมะเร็งต่อมน้ำเหลืองที่มีอาการที่ค่อนข้างรุนแรง หลังเข้ารับการรักษาด้วยวิธีนี้ ผู้ป่วยอาจได้รับผลข้างเคียงจากการรักษา เช่น มีอาการอาเจียน ผมร่างเป็นหย่อมๆ
การฉายรังสี
การฉายรังสี
  • การฉายรังสี เป็นการฉายรังสีเข้าไปเพื่อจุดประสงค์ในการทำลายเซลล์มะเร็ง บางรายอาจใช้ควบคู่กับการทำเคมีบำบัดไปด้วย เพื่อประสิทธิภาพการรักษาที่ดีขึ้น
การรักษาด้วยการบำบัดภูมิคุ้มกัน
การรักษาด้วยการบำบัดภูมิคุ้มกัน
  • การรักษาด้วยการบำบัดภูมิคุ้มกัน โดยการให้ยาบางชนิด เพื่อเข้าไปกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย ให้ร่างกายผลิตภูมิคุ้มกันออกมาทำลายเซลล์มะเร็งด้วยตัวเอง เป็นวิธีหนึ่งที่สามารถทำลายเซลล์เร็งได้ ด้วยการใช้ร่างกายของเราเอง
การปลูกถ่ายไขกระดูก
การปลูกถ่ายไขกระดูก
  • การปลูกถ่ายไขกระดูก เป็นการนำเซลล์ไขกระดูกของตัวผู้ป่วย หรือของญาติพี่น้องที่เซลล์สามารถเข้ากันได้ มาปลูกถ่ายให้กับผู้ป่วย เป็นวิธีการหนึ่งที่ป้องกันไม่ให้ผู้ป่วยกลับมาเป็นมะเร็งต่อมน้ำเหลืองซ้ำอีกรอบ

การตรวจคัดกรองมะเร็งต่อมน้ำเหลือง

มะเร็งต่อมน้ำเหลืองไม่สามารถดูได้จากสายตาเพียงอย่างเดียว ต้องมีการตรวจคัดกรองอย่างละเอียดเท่านั้น ซึ่งรูปแบบการตรวจในปัจจุบันมีความทันสมัยมากขึ้น วิธีการตรวจที่ใช้ในปัจจุบันได้แก่

  • การตรวจเบื้องต้นด้วยสายตา และการซักประวัติ แพทย์จะซักประวัติของผู้ป่วย พร้อมกับใช้มือสัมผัสบริเวณต่างๆ ของร่างกาย ที่เป็นต่อมน้ำเหลือง
  • การตรวจเลือด เพื่อนำไปวินิจฉัยในห้องปฏิบัติการ
  • การตรวจชิ้นเนื้ออวัยวะต่อมน้ำเหลือง นำมาตรวจวินิจฉัยอย่างละเอียด เป็นวิธีที่แม่นยำ
  • การเจาะไขกระดูก
  • การตรวจกับการสแกน เช่น CT SCAN, MRI SCAN และ PET SCAN

วิธีการดูและตัวเองเมื่อเป็นมะเร็งต่อมน้ำเหลือง

ผู้ป่วยที่เป็นมะเร็งต่อมน้ำเหลือง ควรเปลี่ยนวิธีการดูแลตัวเองให้ดีขึ้น ได้แก่ การเลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์และหลากหลาย ทานให้ครบ 5 หมู่ โดยให้เน้นอาหารที่มีโปรตีนสูง การออกกำลังกายให้เหมาะสมตามอาการ ไม่ต้องหักโหม เพื่อเป็นการสร้างภูมิคุ้มกันให้กับร่างกาย ไม่ให้อาการทรุด การหลีกเลี่ยงปัจจัยความเครียดต่างๆ เพราะความเครียดเป็นสาเหตุที่ทำให้อาการทรุดลงได้อย่างรวดเร็ว ฉะนั้นควรทำจิตใจให้แจ่มใสอยู่ตลอดเวลา ที่สำคัญควรเข้าพบแพทย์ตามนัดอย่างเคร่งครัด หรือหากมีอาการผิดปรกติใดๆ เกิดขึ้น ก็ควรเข้าพบแพทย์ทันที

สรุปส่งท้าย

เนื่องจากมะเร็งต่อมน้ำเหลืองเป็นโรคที่อันตรายถึงชีวิต เพราะฉะนั้นเมื่อตรวจพบว่ามีอาการผิดปกติใดๆ เกิดขึ้นกับส่วนต่างๆ ของร่างกาย ควรเข้ารับการตรวจวินิจฉัยจากแพทย์ทันที เพราะโรคนี้สามารถหายขาดได้ หากมีการตรวจพบตั้งแต่เนิ่นๆ แล้วเข้ารับการรักษาอย่างถูกวิธี แต่หากปล่อยปละละเลย ก็จะยิ่งรักษายากขึ้นเท่านั้น แถมมีโอกาสเสียชีวิตสูง

คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับมะเร็งต่อมน้ำเหลือง

ใครบ้างที่ควรเข้ารับการตรวจคัดกรองมะเร็งต่อมน้ำเหลือง?

ผู้ที่มีต่อมขึ้นตามส่วนต่างๆ ของร่างกาย เช่น บริเวณรักแร้ ขาหนีบ ควรเข้ารับการตรวจเพิ่มเติมจากแพทย์ เพราะอาการเหล่านี้เป็นสัญญาณแรกของผู้มะเร็งต่อมน้ำเหลือง ไม่ควรมองข้าม และผู้มีอาการเบื่ออาหาร น้ำหนักลดโดยไม่ทราบสาเหตุ และต่อมทอนซิลโตกว่าปรกติ อาการเหล่านี้ก็เป็นอาการเบื้องต้นของมะเร็งต่อมน้ำเหลืองเช่นกัน หากเริ่มต้นรักษาตั้งแต่ช่วงนี้ โอกาสที่จะหายเป็นปรกติมีสูงมาก

มะเร็งต่อมน้ำเหลืองรักษาให้หายขาดได้หรือไม่?

สามารถรักษาให้หายขาดได้ ถ้าตรวจพบตั้งแต่ระยะเริ่มต้น ซึ่งเชื้อยังไม่ไม่ได้มีการลุกลาม แพทย์ก็สามารถรักษาให้หายขาดได้ และรักษาได้ง่ายกว่ามะเร็งที่อยู่ในระยะลุกลามแล้ว

ทำอย่างไรให้ห่างไกลจากมะเร็งต่อมน้ำเหลือง?

การหลีกเลี่ยงพฤติกรรมเสี่ยงต่างๆ เช่น การทำงานกับสารเคมี หากมีความจำเป็นต้องทำงานประเภทนี้ ควรมีอุปกรณ์ป้องกันที่ดี ทั้งหน้ากาก และชุดป้องกัน เพื่อไม่ให้สารเคมีเข้าสู่ร่างกาย หากไม่ป้องกัน ผู้ป่วยก็มีความเสี่ยงสูงที่จะเป็นมะเร็งต่อมน้ำเหลือง


แชร์เรื่องนี้