มะเร็งเต้านม ภัยอันตรายที่จะมองข้ามไม่ได้เลย โดยเฉพาะผู้หญิง เพราะถ้าประมาทและละเลยไม่สนใจ ก็เสี่ยงอันตรายถึงชีวิตได้ทันที การทำความเข้าใจและหาทางป้องกัน จึงเป็นวิธีที่ดีที่สุด
มะเร็งเต้านม คืออะไร
มะเร็งเต้านม เป็นความผิดปรกติของเซลล์ในท่อน้ำนมหรือต่อมน้ำนม ที่มีการแบ่งตัวเยอะอย่างรวดเร็วจนยากต่อการควบคุม เมื่อเซลล์เหล่านี้มีการกระจายตัว ก็จะกระจายไปยังอวัยวะต่างๆ ได้ด้วย เช่น ต่อมน้ำเหลือง นั่นหมายความว่าอาการของผู้ป่วยจะยิ่งมีความรุนแรงมากขึ้นเรื่อย หากไม่มีการป้องกันและรักษาตั้งแต่เนิ่นๆ บางครั้งเชื้อลุกลามไปยังปอด กระดูก หรือตับ ก็ยิ่งทำให้ผู้ป่วยเสี่ยงต่อการเสียชีวิตมากเท่านั้น และในยุคปัจจุบัน ก็มีปัจจัยหลายอย่างที่ทำให้เสี่ยงเกิดมะเร็งเต้านมมากกว่าในอดีต
อาการของมะเร็งเต้านม
ผู้ป่วยที่เป็นมะเร็งเต้านม สามารถสังเกตได้จากอาการเริ่มต้นต่างๆ ได้แก่
- มีก้อนเนื้อบริเวณเต้านม เมื่อคลำดูจะมีลักษณะเป็นก้อนแข็ง อาจคลำแล้วรู้สึกเจ็บ หรือไม่รู้สึกเจ็บก็ได้
- เต้านมมีขนาดใหญ่ขึ้นผิดปรกติ หากเต้านมมีขนาดใหญ่ขึ้น แสดงว่าเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งเต้านม โดยจะเริ่มใหญ่ทีละข้าง
- ลักษณะของเต้านมผิดรูปไปจากเดิม
- ผิวบริเวณเต้านมมีลักษณะที่แตกต่างไปจากเดิม เช่น จากผิวเรียบเนียน อาจจะกลายเป็นขรุขระ เป็นหนังหนา หรือมีก้อนเนื้อปูดขึ้น เป็นต้น
- รู้สึกเจ็บบริเวณเต้านมข้างใดข้างหนึ่ง แม้จะไม่ได้สัมผัส
- มีอาการบวมแดง บริเวณเต้านม
- ลักษณะของหัวนมเปลี่ยนไป เช่น บุ๋มเข้าไป ไม่สม่ำเสมอกันทั้งสองข้าง
- มีของเหลวไหลออกจากหัวนม เช่น มีเลือด หรือมีน้ำสีเหลือง ทั้งที่ไม่ได้อยู่ในระยะให้นมลูก
- มีแผลเกิดขึ้นที่บริเวณหัวนม และรักษาไม่หาย
สาเหตุของมะเร็งเต้านม
สำหรับสาเหตุที่ทำให้เกิดมะเร็งเต้านม ยังไม่สามารถหาปัจจัยที่ชี้ชัดได้ ว่าเกิดจากปัจจัยอะไร ซึ่งปัจจัยเสี่ยงที่พบเจอได้บ่อย ในผู้ป่วยที่เป็นมะเร็งเต้านม ได้แก่
- ความแตกต่างของเชื้อชาติ ผู้หญิงแถบตะวันตก มีความเสี่ยงสูงกว่าผู้หญิงที่อยู่แถบเอเชีย
- ความแตกต่างของเพศ ความจริงแล้วมะเร็งเต้านมเป็นได้ทั้งผู้หญิงและผู้ชาย แต่โอกาสเกิดในผู้หญิงมากกว่าผู้ชายมากถึง 100 เท่า
- ผู้หญิงที่มีประจำเดือนตั้งแต่อายุยังน้อย และผู้หญิงที่ถึงวัยหมดประจำเดือนช้า
- ผู้หญิงที่อายุมากขึ้นตั้งแต่ 40 ปีขึ้นไป มีโอกาสเป็นมะเร็งเต้านมมากกว่าผู้หญิงอายุน้อย
- ผู้หญิงที่มีน้ำหนักตัวเยอะ หรือเป็นโรคอ้วน ทำให้โอกาสเกิดมะเร็งเต้านมมากกว่าคนน้ำหนักปรกติ
- การส่งต่อทางพันธุกรรม หากคนในครอบครัวมีประวัติเคยเป็นมะเร็งเต้านม รุ่นลูกรุ่นหลาน ก็มีอาโอกาสที่จะเป็นโรคนี้ได้เช่นกัน
- การสูบบุหรี่ ผู้หญิงที่สูบบุหรี่ ได้สูดควันบุหรี่มือสองเป็นเวลานาน มีโอกาสเกิดเป็นมะเร็งเต้านมมากกว่าผู้หญิงที่ไม่สูบ
- ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ผู้หญิงที่ดื่มแอลกอฮอลเป็นเวลานาน มีความเสี่ยงเป็นมะเร็งเต้านมมากกว่าผู้หญิงที่ไม่ดื่ม
ระยะของมะเร็งเต้านม
มะเร็งเต้านม สามารถแบ่งออกได้เป็น 4 ระยะ ได้แก่
- ระยะที่ 1 มีขนาดก้อนมะเร็งน้อยกว่า 2 เซนติเมตร และยังไม่กระจายไปยังส่วนอื่น
- ระยะที่ 2 มีก้อนมะเร็งขนาด ตั้งแต่ 2-5 เซนติเมตร และเริ่มกระจายไปยังต่อมน้ำเหลืองบริเวณรักแร้
- ระยะที่ 3 มีก้อนมะเร็งมีขนาด 5 เซนติเมตร ต่อมน้ำเหลืองบริเวณรักแร้ เชื่อมติดกับอวัยวะที่อยู่ใกล้เคียง
- ระยะที่ 4 มีก้อนมะเร็งมีขนาดใหญ่กว่า 5 เซนติเมตร และมีการแพร่กระจายไปยังอวัยวะอื่นๆ เช่น ปอด ตับ ม้าม เป็นต้น
วิธีการรักษามะเร็งเต้านม
การรักษามะเร็งเต้านม แพทย์จะวินิจฉัยจากอาการของผู้ป่วย และระยะของมะเร็ง ผู้ป่วยบางราย อาจใช้การรักษาวิธีเดียว บางรายอาจใช้วิธีรักษามากกว่าหนึ่งวิธี ซึ่งแนวทางการรักษามีดังนี้
- วิธีการผ่าตัด
เป็นการผ่าตัดเพื่อเอาก้อนเนื้อออกจากเต้านม สามารถจำแนกออกไปได้อีกดังนี้
- การผ่าตัดแบบสงวนเต้านม เป็นการผ่าตัดเพื่อเอาก้อนเนื้ออกเพียงอย่างเดียว
- การผ่าตัดแบบตัดเต้านมออกทั้งเต้า และใช้เนื้อบริเวณส่วนอื่นมาเสริมเป็นเต้านม
- การผ่าตัดเลาะเอาต่อมน้ำเหลืองบริเวณรักแร้ออก นิยมใช้ผ่าตัดในกรณีที่มะเร็งเริ่มกระจายมาที่ต่อมน้ำเหลือง
การผ่าตัดต่อมน้ำเหลืองบริเวณรักแร้มาตรวจ แพทย์จะนำตัวอย่างที่ได้มาวินิจฉัยอย่างละเอียด และตัดสินใจในการผ่าตัดเลาะเอาต่อมน้ำเหลืองบริเวณรักแร้ออก
- การฉายรังสี
เป็นการฉายรังสีเข้ามาทำเพื่อทำลายเซลล์มะเร็งโดยตรง ป้องกันไม่ให้เซลล์ลุกลามไปยังอวัยวะส่วนอื่นในร่างกาย
- การใช้ยาต้านฮอร์โมน
ช่วยในการยับยั้งเซลล์มะเร็งไม่ให้เจริญเติบโต เป็นการควบคุมเซลล์มะเร็ง ซึ่งวิธีนี้ต้องใช้การรักษาอย่างต่อเนื่อง
- การใช้ยาแบบหวังผล
เป็นการใช้ยาเพื่อเข้าไปหยุดการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็งโดยตรง ซึ่งแพทย์ต้องวินิจฉัยลักษณะของมะเร็งก่อนที่จะทำการผ่าตัด
วิธีการตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านม
การตรวจเพื่อคัดกรองมะเร็งเต้านม เป็นสิ่งที่จำเป็นสำหรับผู้หญิงทุกคน เพราะยิ่งรู้ทันโรคตั้งแต่เนิ่นๆ โอกาสที่จะหายขาดก็มีความเป็นไปได้สูง ปัจจุบันมีวิธีการตรวจดังนี้คือ
- การตรวจด้วยตัวเอง
เป็นการตรวจเบื้องต้น คือการใช้มือคลำบริเวณหน้าอก เพื่อหาความผิดปรกติ เช่น ก้อนเนื้อบริเวณเต้านม สามารถคลำตรวจได้ด้วยตัวเอง หรือให้แพทย์เป็นผู้ตรวจก็ได้ ซึ่งแพทย์จะสามารถวินิจฉัยได้ละเอียดกว่าการตรวจด้วยตัวเอง
- การตรวจเอกซเรย์
เป็นการตรวจด้วยการใช้รังสีเอกซเรย์บริเวณหน้าอก เพื่อหาก้อนเนื้อที่ผิดปรกติบริเวณหน้าอก วิธีนี้สามารถบอกได้ถึงระยะของมะเร็งในแต่ละระยะได้เลย หากผู้ป่วยมีการตรวจอย่างสม่ำเสมอ ก็จะทำให้รู้ทันอาการของโรคได้เร็วยิ่งขึ้น
- การตรวจอัลตราซาวด์
เป็นการใช้คลื่นความถี่ซึ่งสามารถแยกลักษณะของความผิดปรกติของต่อมน้ำเหลือง หรือเต้านมได้เลย
- การตรวจด้วยด้วย MRI SCAN
เป็นการตรวจเพื่อวินิจฉัยถึงความผิดปรกติทางพันธุกรรมของมะเร็งเต้านม แต่ไม่สามารถวินิจฉัยโรคได้แม่นยำมากพอ
- การตรวจชิ้นเนื้อ
แพทย์จะตัดชิ้นเนื้อบริเวณหน้าอก หรือต่อมน้ำเหลืองออกมาตรวจในห้องปฏิบัติการเพิ่มเติม เพื่อวินิจฉัยอย่างละเอียด วิธีนี้มีความแม่นยำสูงและเป็นวิธีที่นิยมใช้
แนวทางการป้องกันมะเร็งเต้านม
เนื่องจากโอกาสเกิดมะเร็งเต้านมในปัจจุบัน มีความเสี่ยงที่สูงขึ้นเรื่อยๆ ดังนั้นควรหาวิธีป้องกันเอาไว้ดีที่สุด มีวิธีใดบ้าง
- งดอาหารที่มีไขมันสูง หรืออาหารประเภทแป้ง ที่เสี่ยงทำให้เพิ่มน้ำหนัก และเป็นโรคอ้วน
- เลือกทานอาหารที่มีประโยชน์และปลอดสาร เช่น ผักที่เป็นอินทรีย์ เป็นต้น เพื่อลดสิ่งแปลกปลอมในอาหาร
- ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้ร่างกายทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ และภูมิต้านทานแข็งแรง
- ตรวจสุขภาพประจำปี เพื่อให้รู้การเปลี่ยนแปลงร่างกายของเรา ว่ามีความเสี่ยงใดๆ หรือไม่ เพื่อหาทางป้องกันหรือรักษาตั้งแต่เนิ่นๆ
- หลีกเลี่ยงความเครียด พยายามทำจิตใจตัวเองให้แจ่มใส มีความสุขทุกวัน ช่วยลดโอกาสเสี่ยงได้เช่นกัน และยังช่วยป้องกันโรคอื่นๆ ได้ด้วย
สรุปเกี่ยวกับมะเร็งเต้านม
เพราะเราไม่สามารถชะล่าใจได้เลย เกี่ยวกับมะเร็งเต้านม ผู้หญิงทุกคนมีโอกาสเป็นได้เหมือนกัน การรู้จักวิธีการป้องกัน และหาทางรับมือ เป็นวิธีที่ดีที่สุดที่จะช่วยให้เราห่างไกลจากโรคนี้
คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับมะเร็งเต้านม
สามารถรักษาให้หายได้ หากมีการตรวจพบตั้งแต่เนิ่นๆ แพทย์สามารถรักษาด้วยวิธีการผ่าตัดหรือฉายรังสี ผู้ป่วยมีโอกาสหายขาดได้เลยหลังเข้ารับการรักษา
ผู้หญิงที่เริ่มมีอายุตั้งแต่ 30 ปี ขึ้นไป ควรเข้ารับการตรวจคัดกรองเป็นประจำทุกปี หรือผู้ที่มีอาการเจ็บหน้าอก มีความผิดปรกติของเต้านม อาการเหล่านี้ล้วนแสดงถึงความผิดปรกติทั้งสิ้น ควรเข้ารับการตรวจทันทีที่มีความผิดปรกติเหล่านี้
การเลือกทานอาหารที่มีประโยชน์ และไม่มีสารเคมี การหมั่นตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมทุกปี รวมถึงการไม่สูบบุหรี่และเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ช่วยลดโอกาสเกิดมะเร็งเต้านมได้สูง หรือหากเกิดมะเร็งเต้านม ก็สามารถรักษาให้หายขาดได้ เพราะฉะนั้นเราควรดูและตัวเองให้ดีตั้งแต่อายุน้อยๆ จะดีที่สุด