มะเร็งปากมดลูก (Cervical Cancer) เป็นสาเหตุการตายในผู้หญิงมากที่สุด รองจากมะเร็งเต้านม และไม่จำเป็นต้องอายุมากก็สามารถเป็นได้ ถ้าหากมีพฤติกรรมเสี่ยง และได้รับเชื้อไวรัส
มะเร็งปากมดลูก คืออะไร
มะเร็งปากมดลูก เป็นมะเร็งที่เกิดจากการติดเชื้อ HPV หรือ (Human Papillomavirus) โรคชนิดนี้ส่วนมากจะติดต่อได้จากการมีเพศสัมพันธ์ ซึ่งจะเกิดที่บริเวณช่วงล่างของมดลูก เมื่อเซลล์ตรงปากมดลูกได้รับเชื้อ HPV ก็จะทำให้เกิดเป็นความผิดปรกติ สุดท้ายก็จะกลายเป็นมะเร็งในที่สุด แต่ถ้าหากได้รับวัคซีนป้องกันเชื้อ HPV ก่อนที่จะได้รับเชื้อ ร่างกายก็สามารถป้องกันเชื้อชนิดนี้ได้ และป้องกันให้เชื้อลุกลามกลายเป็นเซลล์มะเร็งด้วย
8 อาการที่พบบ่อยในผู้ป่วยมะเร็งปากมดลูก
ผู้ป่วยที่ได้รับเชื้อ HPV จนกลายเป็นเซลล์มะเร็งในที่สุด อาการช่วงแรกตั้งแต่ที่ได้รับเชื้อ จนกระทั่งเชื้อกลายเป็นมะเร็ง ร่างกายจะยังไม่แสดงอาการใดๆ ออกมาให้สังเกตได้เลย ซึ่งเชื้อจะใช้เวลาหลายปีอาจจะยาวนานเป็น 10 ปีถึงจะแสดงอาการออกมา ส่วนใหญ่จะแสดงอาการเมื่อเชื้อมีการลุกลามแล้ว ซึ่งอาการที่สามารถสังเกตหลังจากนั้นก็คือ
มีเลือดออกจากบริเวณช่วงคลอด ทั้งหลังจากตอนที่มีเพศสัมพันธ์ และไม่ได้มีเพศสัมพันธ์ มักมีเลือดออกเป็นระยะๆ ถึงแม้จะหมดประจำเดือนไปแล้วก็ตาม
- รู้สึกเบื่ออาหาร ทำให้น้ำหนักลดลงอย่างเห็นได้ชัด
- ตกขาวผิดปรกติ เช่น ตกขาวปนเลือด ปนเศษชิ้นเนื้อ หรือปน อาจจะเป็นตกขาวมีกลิ่นหรือไม่มีกลิ่นก็ได้
- อาการเหนื่อยง่าย อ่อนเพลีย สามารถก็มาจากการเบื่ออาหาร ทำให้ร่างกายอ่อนเพลียลง
- มีอาการปวดบริเวณหัวหน่าว หรือบริเวณท้องน้อยอุ้งเชิงกราน
- มีอาการเจ็บขณะที่มีเพศสัมพันธ์
- ขาบวม เนื่องจากมะเร็งได้กระจายไปยังต่อมน้ำเหลือง เป็นระยะที่มะเร็งลุกลามแล้ว
- ปัสสาวะปนเลือด
- ประจำเดือนมาไม่ปรกติ
สาเหตุที่ทำให้เกิดมะเร็งปากมดลูก
อย่างที่ได้กล่าวไปข้างต้นว่ามะเร็งปากมดลูก เกิดจากเชื้อ HPV ซึ่งส่วนใหญ่มาจากพฤติกรรมเสี่ยงเกือบทั้งนั้น โดยเฉพาะการมีเพศสัมพันธ์ และกลุ่มผู้หญิงที่เสี่ยงที่สุดต่อการได้รับเชื้อชนิดนี้ก็คือ
- ผู้หญิงที่มีเพศสัมพันธ์ตั้งแต่อายุยังน้อย ตั้งแต่อายุ 15 ปีขึ้นไป
- ผู้หญิงที่มีเพศสัมผัสบ่อย โดยเฉพาะกับคนแปลกหน้า เสี่ยงต่อการได้รับเชื้อ HPV ที่สูงมาก
- ผู้หญิงที่สูบบุหรี่จัด
- ผู้หญิงที่ผ่านการมีบุตรมาแล้วไม่ต่ำกว่า 3 คน
- ผู้หญิงที่ป่วยเป็นโรคภูมิคุ้มกันบกพร่อง (HIV) เสี่ยงที่จะทำให้ได้รับเชื้อมะเร็งปากมดลูกได้ง่ายขึ้น
- เคยติดโรคที่เกี่ยวกับเพศสัมพันธ์ชนิดอื่นมาก่อน เช่น เป็นหนองใน ซิฟิลิส เริม หูดหงอนไก่ เป็นต้น ก็ทำให้มีความเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งปากมดลูกได้เช่นกัน
- ผู้หญิงที่ไม่เคยผ่านการตรวจคัดกรองเชื้อ HPV มาก่อน จะไม่สามารถทราบได้เลยว่ามีเชื้อชนิดนี้ในร่างกายหรือไม่
สิ่งที่ควรหลีกเลี่ยง ในการป้องกันมะเร็งปากมดลูก
เมื่อรู้ว่าพฤติกรรมชนิดใดที่เสี่ยงต่อการทำให้ได้รับเชื้อ HPV เราก็สามารถหาทางป้องกันเอาไว้ล่วงหน้าได้ ซึ่งการป้องกันนี่เอง ที่เป็นด่านแรกที่ดีที่สุด ไม่ให้เราได้รับเชื้อ มีพฤติกรรมอะไรบ้างที่ควรทำ
- หลีกเลี่ยงการเปลี่ยนคู่นอนหลายคน หากมีพฤติกรรมเปลี่ยนคู่นอนบ่อย และยังไม่ได้รับเชื้อ HPV ก็ควรหยุดพฤติกรรมชนิดนี้เสียตั้งแต่ตอนนี้เลย ก่อนที่จะสายเกินไป
- มีการป้องกันที่ดีทุกครั้ง เวลาที่มีเพศสัมพันธ์ ถ้าเป็นไปได้ ควรสวมถุงยางอนามัยทุกครั้งจะดีที่ เพราะเชื้อชนิดนี้ติดต่อได้ง่ายที่สุดก็คือทางเพศสัมพันธ์นั่นเอง
- งดสูบบุหรี่ ควรเลิกสูบบุหรี่ไปเลย ไม่ว่าจะเป็นบุหรี่ไฟฟ้าหรือบุหรี่ธรรมดา
การป้องกันมะเร็งปากมดลูกที่ดีที่สุด
ผู้ที่ได้รับเชื้อ HPV เข้าสู่ร่างกาย จะไม่สามารถตรวจพบได้ ด้วยการตรวจภายในทั่วไป ฉะนั้นหากต้องการทราบว่าตัวเราได้รับเชื้อหรือไม่ ต้องตรวจแบบคัดกรองเชื้อ HPV เท่านั้น ซึ่งการตรวจรูปแบบนี้ จะแตกต่างจากการตรวจภายในทั่วไป ทำให้สามารถทราบได้เลยว่า ผู้ป่วยได้รับเชื้อ หรือมีเชื้อหรือไม่
ผู้หญิงบางท่านอาจจะมีความกังวลเกี่ยวกับการตรวจคัดกรองเชื้อ หรือเกิดความอายต่อคุณหมอที่เข้ามาตรวจ อยากจะบอกว่าเชื้อชนิดนี้อันตรายกว่าที่คิด หากปล่อยไว้ไม่มีการตรวจคัดกรองเลย อาจจะกลายเป็นความเสี่ยงที่รุนแรงมากขึ้น ถึงขั้นเสียชีวิตได้เลย โดยเฉพาะหากมาพบในช่วงที่มะเร็งมีการลุกลามแล้ว ฉะนั้นผู้หญิงที่อยู่ในวัยตั้งแต่ 30 ปี ขึ้นไป ควรเข้ารับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกเป็นประจำทุกปีจะดีที่สุด ยิ่งตรวจพบได้เร็วเท่าไหร่ ก็ยิ่งง่ายต่อการรักษาเท่านั้น และมีโอกาสหายขาดได้ด้วย
ในปัจจุบันการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก จะมีด้วยกัน 3 รูปแบบ คือ
- การตรวจแบบ แปปเสมียร์ (Pap smear)
การการตรวจด้วยการเก็บตัวอย่างเนื้อเยื้อบริเวณปากมดลูกของผู้ป่วย เพื่อนำไปเข้าห้องแล็บและตรวจหาเชื้อมะเร็ง เป็นวิธีการตรวจแบบดั้งเดิม ซึ่งความแม่นยำของการตรวจประเภทนี้ถือว่ายังไม่แน่นอน
- การตรวจแบบ ตินเพร็พ (Thinprep)
เป็นการใช้อุปกรณ์สอดเข้าช่องคลอด เพื่อเก็บตัวอย่างเซลล์บริเวณปากมดลูกออกมา เพื่อตรวจอย่างละเอียด ซึ่งการตรวจรูปแบบนี้ ต้องตรวจติดต่อกันทุกปี เพื่อดูความผิดปรกติของเซลล์
- การตรวจแบบ เอชพีวี ดีเอ็นเอ (HPV DNA)
เป็นการตรวจแบบใหม่ล่าสุด ด้วยการใช้เทคโนโลยีชีวโมเลกุล ในการค้นหาเชื้อ HPV ซึ่งเป็นสาเหตุของการเกิดมะเร็งปากมดลูก ข้อดีของการตรวจชนิดนี้ก็คือ มีความแม่นยำที่สุดในบรรดาการตรวจทุกรูปแบบที่กล่าวมา และไม่ต้องทำการตรวจซ้ำทุกปี
วัคซีนป้องกันมะเร็งปากมดลูก
ปัจจุบันวัคซีนที่ช่วยป้องกันเชื้อ HPV จะมีด้วยการ 2 ประเภทคือ
- วัคซีนชนิด 4 สายพันธุ์ ช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดมะเร็งปากมดลูกได้ 70 เปอร์เซ็นต์
- วัคซีนชนิด 9 สายพันธุ์ ช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดมะเร็งปากมดลูกได้ 90 เปอร์เซ็นต์
โดยในการรับวัคซีนป้องกันเชื้อ HPV สามารถเข้ารับการฉีดได้ตั้งแต่อายุ 9 ขวบขึ้นไป ไปจนถึงถึงผู้หญิงที่ยังไม่เคยมีเพศสัมพันธ์มาก่อน หรือผู้หญิงที่เคยมีเพศสัมพันธ์มาแล้ว แต่ยังไม่ได้รับเชื้อ HPV ก็สามารถเข้ารับวัคซีนได้เช่นกัน
วิธีการรักษามะเร็งปากมดลูกในปัจจุบัน
สำหรับผู้ป่วยที่ตรวจพบว่าเป็นมะเร็งปากมดลูก และยังไม่ได้รับการฉีดวัคซีนป้องกันเชื้อ HPV ก็ยังมีวิธีการในการรักษาอย่างอื่นด้วยเช่นกัน ได้แก่
- รักษาด้วยการผ่าตัด
ใช้กับผู้ป่วยที่เริ่มเป็นมะเร็งปากดมดลูกในระยะแรก
- รักษาด้วยการใช้รังสี
ช่วยในการป้องกันไม่ให้ผู้ป่วยกลับมาเป็นซ้ำ เป็นการรักษาเฉพาะที่ ส่วนใหญ่จะใช้รักษาร่วมกันกับการใช้ยาเคมี มี 2 รูปแบบก็คือ การฉายรังสีระยะใกล้ และการฉายรังสีระยะไกล
- รักษาด้วยการใช้เคมีบำบัด
เป็นการรักษาเพื่อมุ่งทำลายเซลล์มะเร็งได้เฉพาะ การรักษาด้วยวิธีเคมีบำบัด จะทำควบคู่กับการฉายรังสี
สรุปส่งท้าย
เพราะมะเร็งปากมดลูก เป็นมะเร็งที่ถือว่าอันตรายมากสำหรับผู้หญิง เพราะฉะนั้นไม่ควรประมาทหรือมองข้าม ควรหันมาใส่ใจในการดูแล ในการตรวจคัดกรองตั้งแต่เนิ่นๆ เลยจะดีที่สุด การรับมือก็จะยิ่งง่ายขึ้นมากเท่านั้น
คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับมะเร็งปากมดลูก
หากตรวจพบตั้งแต่เนิ่นๆ ก็สามารถรักษามะเร็งปากมดลูกให้หายขาดได้ ด้วยการผ่าตัด
เด็กผู้หญิงที่มีอายุตั้งแต่ 11 ปีขึ้นไป ควรเข้ารับวัคซีนป้องกันเชื้อ HPV รวมไปถึงผู้หญิงที่ยังไม่เคยผ่านการมีเพศสัมพันธ์ หรือหากเคยมีเพศสัมพันธ์มาก่อนแล้ว แต่ตรวจไม่พบเชื้อ HPV ก็ควรเข้ารับวัคซีนป้องกันเอาไว้ก่อน แต่หากผู้ป่วยมีได้รับเชื้อ HPV แล้ว ก็ต้องใช้วิธีการรักษารูปแบบอื่นต่อไป เพราะไม่สามารถป้องกันได้ด้วยวัคซีน
ผู้หญิงที่เคยผ่านการมีเพศสัมพันธ์มาแล้ว โดยเฉพาะผู้หญิงที่เปลี่ยนคู่นอนหลายคน ควรเข้ารับการตรวจเป็นประจำทุกปี,ผู้หญิงที่มีอายุตั้งแต่ 30 ปีขึ้นไป, ผู้หญิงที่สูบบุหรี่จัด,ผู้หญิงที่เคยทีประวัติเป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ชนิดอื่นมาก่อน และผู้หญิงที่พ้นวัยทองขึ้นไป ควรเข้ารับการตรวจประจำทุกปี