อาหารป้องกันโรคกระเพาะ ตัวช่วยที่จะทำให้เราห่างไกลจากโรคกระเพาะ โรคนี้เกิดจากพฤติกรรมการทานอาหารที่ผิดปกติ ป้องกันได้ง่ายๆ ด้วยการเปลี่ยนพฤติกรรมการทานอาหารใหม่ ดังนี้
อาหารที่ช่วยป้องกันโรคกระเพาะ
- อกไก่ เนื้อปลา
เป็นอาหารที่จำเป็นต่อร่างกาย เพราะอุดมไปด้วยโปรตีน ซึ่งมีความจำเป็นต่อร่างกาย เหตุผลที่ควรเปลี่ยนจากเนื้อสัตว์ชนิดอื่น มาเป็นเนื้อปลาและอกไก่ ก็เพราะว่าเป็นอาหารที่ย่อยง่าย และยังมีไขมันต่ำด้วย ทำให้กระเพาะไม่ต้องทำงานหนัก
- แตงกวา
แตงกวาเป็นผักที่มีความเป็นกรดต่ำ เมื่อรับประทานเข้าไปแล้ว จะไม่ส่งผลกับกระเพาะอาหาร และแตงกวายังช่วยเคลือบกระเพาะได้ด้วย ช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดโรคกระเพาะ
- กล้วย
เมื่อทานกล้วยเข้าไปแล้ว กล้วยที่ทานเข้าไป จะเข้าไปยับยั้งการหลั่งของน้ำย่อยในกระเพาะ และยังช่วยรักษาแผลในกระเพาะอาหารได้ด้วย
- โยเกิร์ต
ในโยเกิร์ตจะมีจุลินทรีย์ที่ชื่อว่าโปรไบโอติกส์ ซึ่งจะช่วยในการย่อยอาหาร ลดความเสี่ยงของการเกิดโรคกระเพาะได้ดี ฉะนั้นการทานโยเกิร์ตวันละ 1 ถ้วย จะช่วยป้องกันโรคกระเพาะได้
- ผักที่มีไฟเบอร์สูง
เช่น บล็อกโคลี่ คะน้า ถั่ว ผักบุ้ง ผักเหล่านี้จะมีเส้นใยหรือไฟเบอร์ในปริมาณที่สูง ทำให้กระเพาะย่อยอาหารได้ง่ายขึ้น กระเพาะไม่ทำงานหนัก ป้องกันไม่ให้เกิดโรคกระเพาะได้ ฉะนั้นควรทานผักที่มีไฟเบอร์ หรือผักใบเขียวทุกวัน
พฤติกรรมที่เสี่ยงทำให้เกิดโรคกระเพาะมากขึ้น
ผู้ที่ป่วยเป็นโรคกระเพาะอาหาร ส่วนใหญ่แล้วเป็นผลมาจากพฤติกรรมการใช้ชีวิตของคนนั้นด้วย ถ้าทำพฤติกรรมที่เสี่ยง ย่อมมีโอกาสสูงที่จะเป็นโรคกระเพาะ และโรคนี้สามารถเกิดได้กับคนทุกเพศทุกวัยด้วย ซึ่งพฤติกรรมที่เสี่ยงมีดังนี้คือ
- พฤติกรรมการทานอาหารที่ผิดปกติ เช่น การทานอาหารไม่ตรงเวลา การอดอาหาร หรือการรีบเร่งทานอาหารมากเกินไป ไม่เคี้ยวอาหารให้ละเอียด ก็เป็นสาเหตุของการเกิดโรคกระเพาะได้เช่นกัน
- เครียดมากเกินไป ไม่ว่าจะเป็นความเครียดจากเรื่องงาน เรื่องชีวิต หรือเรื่องความรัก ล้วนแต่ส่งผลกระทบกับการทำงานของกระเพาะทั้งสิ้น บางคนเครียดจนไม่สามารถทานอาหารได้ ยิ่งมีความเสี่ยงที่จะเกิดโรคกระเพาะอาหารได้ง่ายเท่านั้น
- การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เมื่อดื่มเข้าไปแล้ว แอลกอฮอล์จะเข้าไปกัดกระเพาะ ทำให้เกิดบาดแผลและอักเสบได้ โดยเฉพาะคนที่ดื่มและไม่ได้ทานอาหารเข้าไปเลย ยิ่งอันตรายมากขึ้นเท่านั้น
- การสูบบุหรี่ คนที่สูบบุหรี่ มีโอกาสที่จะเกิดแผลในกระเพาะ และในลำไส้มากกว่าคนที่ไม่สูบ
- อาหารที่มีรสจัด ข้อนี้ก็เป็นสาเหตุหลักของที่ทำให้เกิดโรคกระเพาะได้เช่นกัน เช่น คนที่ทานอาหารเผ็ดจัด จะทำให้เกิดบาดแผลในกระเพาะได้ง่าย เพราะความแสบร้อน
อาการของโรคกระเพาะ มีอะไรบ้าง
คนที่ไม่ได้ทาน อาหารป้องกันโรคกระเพาะ ย่อมเสี่ยงที่จะเกิดโรคกระเพาะได้ง่ายกว่าคนที่ทาน ซึ่งอาการของคนที่เป็นโรคกระเพาะ จะสังเกตได้ง่าย ดังนี้คือ
- มีอาการปวดท้อง ทั้งก่อนที่จะรับประทานอาหาร หรือตอนที่รับประทานเข้าไปแล้ว มีอาการปวดท้อง นั่นเป็นสัญญาณเตือนของโรคกระเพาะอาหาร บางรายปวดถึงขั้นไม่สามารถนอนหลับในตอนกลางคืนได้เลย
- อาเจียน คลื่นไส้ อาการเหล่านี้จะยิ่งหนักขึ้น หากเป็นแล้วไม่ได้รับการรักษา
- แสบท้อง แน่นหน้าอก มีลมในท้องมากเกินไป รู้สึกปวดหรือจุกที่ลิ้นปี่
- ท้องอืดตลอดเวลา ไม่อยากรับประทานอาหาร เหมือนคนที่อาหารไม่ย่อย เวลาทานก็ทานได้น้อยกว่าปกติ
- อุจจาระเป็นเลือด อาเจียนเป็นเลือด เพราะกระเพาะถูกทำลายเนื่องจากเกิดแผลในกระเพาะอาหาร
- รู้สึกเบื่ออาหาร ไม่อยากรับประทานอาหาร น้ำหนักลดลง
สาเหตุที่ทำให้เกิดโรคกระเพาะ
สำหรับสาเหตุของการเกิดโรคกระเพาะ เกิดได้จากหลายวิธี ได้แก่
- เกิดจากการติดเชื้อในกระเพาะอาหาร ที่ชื่อว่า เอช.ไพโลไร (H.pylori) หากในกระเพาะอาหารมีเชื้อแบคทีเรียตัวนี้ ก็จะทำให้กระเพาะอาหารเกิดบาดแผล และทำให้มีอาการอักเสบเรื้อรังได้
- การรับประทานยาบางชนิด ยาบางชนิดส่งผลกับกระเพาะอาหารได้ เช่น กลุ่มยาแก้ปวดข้อปวดกระดูก เมื่อทานเข้าไปแล้ว มีโอกาสที่จะทำให้เกิดแผลในกระเพาะอาหาร เพราะยาจะเข้าไปทำลายผิวของกระเพาะ ฉะนั้นหากจำเป็นต้องรับประทานยาประเภทนี้ ควรปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญก่อนทุกครั้ง
- การรับประทานอาหารไม่ตรงเวลา หรือการอดอาหารบ่อยๆ เสี่ยงที่จะทำให้เกิดกระเพาะอักเสบ และเป็นโรคกระเพาะได้ง่ายขึ้น
- คนที่เครียดบ่อยๆ เวลาที่เราเครียด ร่างกายจะหลั่งกรดมากขึ้น ทำให้เสี่ยงที่จะเกิดโรคกระเพาะอาหารได้ง่ายกว่าคนที่อารมณ์ดี
- การสูบบุหรี่ และดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ จะทำให้กระเพาะถูกทำลายได้ง่าย จากการกัดกร่อนของแอลกอฮอล์
วิธีการรักษาโรคกระเพาะ
แนวทางในการรักษาโรคกระเพาะในปัจจุบัน แบ่งออกเป็น 2 วิธีดังนี้คือ
- การรักษาด้วยการใช้ยา ในผู้ป่วยที่เป็นกระเพาะอักเสบ หรือมีอาการติดเชื่อแบคทีเรีย แพทย์ก็จะให้ยาฆ่าเชื้อหรือให้ตามอาการของผู้ป่วย จนกว่าผู้ป่วยจะมีอาการที่ปกติ
- การรักษาด้วยการเปลี่ยนพฤติกรรม ผู้ป่วยบางรายเป็นโรคกระเพาะเนื่องจากพฤติกรรมการใช้ชีวิตของตัวเอง ฉะนั้นวิธีการรักษาก็ต้องเปลี่ยนพฤติกรรมเช่นกัน เช่น การเปลี่ยนมาทาน อาหารป้องกันโรคกระเพาะ การหลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคกระเพาะ เป็นต้น เปลี่ยนวิธีการรับประทานอาหารใหม่ จากที่ชอบทานอาหารรสจัด ก็งดทาน มาทานอาหารรสจืด หรืออาหารปกติแทน
วิธีป้องกันตัว เมื่อเป็นโรคกระเพาะ
คนที่เป็นโรคกระเพาะ สิ่งที่ต้องทำทันทีก็คือ การเปลี่ยนพฤติกรรมตัวเองใหม่ เพื่อไม่ให้อาการของโรคกระเพาะหนักขึ้น และไม่ให้โรคนี้กลับมาเป็นอีก มีอะไรบ้าง
- งดทานอาหารแบบเดิมๆ เช่น คนที่เคยทานอาหารรสจัด เผ็ดจัด เปรี้ยวจัด ก็ให้งดเด็ดขาดไปเลย
- งดดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ หรือการสูบบุหรี่
- ทานยาตามแพทย์สั่งอย่างเคร่งครัดจนหมด ไม่ควรหยุดยาด้วยตัวเองแม้อาการจะดีขึ้น
- ไม่ซื้อยามารับประทานเอง โดยเฉพาะยาประเภทยาแก้ปวดต่างๆ เพราะส่งผลกับกระเพาะอาหารได้ ต้องปรึกษาแพทย์ก่อนทุกครั้ง
- รับประทานอาหารให้ตรงเวลา เมื่อถึงเวลาต้องรับประทานอาหารทันที ไม่ควรละเลย
- ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้ระบบการทำงานและอวัยวะต่างๆ ในร่างกาย ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
- ไม่เครียด พยายามหลีกเลี่ยงปัจจัยความเครียดให้ได้มากที่สุด ก็จะลดโอกาสการเกิดโรคกระเพาะได้
สรุปส่งท้าย
เนื่องจากโรคกระเพาะเป็นโรคที่เกิดได้ค่อนข้างง่าย แค่พฤติกรรมบางอย่าง ก็ทำให้เป็นได้แล้ว ฉะนั้นควรป้องกันเอาไว้ก่อนดีกว่า ทั้งการเปลี่ยนพฤติกรรมของตัวเองใหม่ และการทาน อาหารป้องกันโรคกระเพาะอย่างสม่ำเสมอ ก็จะช่วยให้ห่างไกลจากโรคนี้ได้
คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวโรคกระเพาะ
คนที่เป็นโรคกระเพาะอาหารแล้วไม่ได้รับการรักษา ปล่อยปละละเลย หรือซื้อยามากินเอง ไม่ไปพบแพทย์ มีโอกาสที่จะทำให้โรคกระเพาะอันตรายมากขึ้น ยิ่งกระเพาะถูกทำลายเท่าไหร่ ความเสี่ยงก็เพิ่มขึ้นเท่านั้น บางรายถึงขั้นติดเชื้อในกระแสเลือด กระเพาะทะลุ หรือทำให้เป็นมะเร็งกระเพาะอาหารได้เลย ฉะนั้นเมื่อรู้ว่าเราเป็นโรคกระเพาะ หรือมีความผิดปกติเกี่ยวกับกระเพาะ ควรพบแพทย์ทันที เพื่อทำการรักษาอย่างถูกต้อง
สามารถรับประทานได้ทุกคน ทุกเพศทุกวัย เพราะว่าโรคกระเพาะไม่ได้เลือกวัยหรือเพศ ทุกคนมีโอกาสเป็นได้หมด หากทำพฤติกรรมที่เสี่ยง สิ่งที่เราป้องกันได้ก็คือ การทานอาหารป้องกันโรคกระเพาะอย่างสม่ำเสมอ และดูแลตัวเองในเรื่องการรับประทานอาหารให้ดี ก็จะช่วยให้ห่างไกลจากโรคนี้ได้
คนที่เป็นโรคกระเพาะ จะมีอาการแสดงออกมาให้เห็นอย่างชัดเจน เช่น รู้สึกปวดท้อง ท้องอืด แน่นท้อง แน่นหน้าอก หากเรามีอาการลักษณะนี้อยู่บ่อยๆ นั่นเป็นสัญญาณเตือนของโรคกระเพาะ ให้รีบพบแพทย์ทันที เพื่อทำการรักษาตั้งแต่เนิ่นๆ ยิ่งเริ่มต้นรักษาได้เร็วเท่าไหร่ การรักษาก็ง่ายเท่านั้น และกลับมาเป็นปกติได้ แต่ถ้าปล่อยไว้เรื่อยๆ มีโอกาสที่จะเกิดอาการแทรกซ้อนอย่างอื่นได้อีก ซึ่งจะทำให้การรักษาทำได้ยากขึ้น