มะเร็งกระเพาะอาหาร เป็นมะเร็งที่คร่าชีวิตผู้คนทั่วโลกเยอะที่สุดเป็นอันดับต้นๆ ในบรรดามะเร็งทุกชนิด ถือว่าเป็นมะเร็งที่ความรุนแรง และคุกคามมาอย่างเงียบๆ แต่ถ้าเรารู้ทัน ก็สามารถป้องกันไม่ให้เกิดโรคนี้ได้
มะเร็งกระเพาะอาหาร คืออะไร
มะเร็งกระเพาะอาหาร คือความผิดปรกติของเซลล์ในกระเพาะอาหาร ที่มีการแบ่งตัวกันอย่างรวดเร็ว และมีปริมาณมาก พัฒนาจนกลายเป็นมะเร็งในที่สุด ตัวเซลล์ของมะเร็งสามารถเกิดขึ้นบริเวณใดก็ได้ของกระเพาะ และที่น่าทึ่งกว่านั้นก็คือ มะเร็งมีการเจริญเติบโตที่เร็วมาก และยังสามารถแพร่กระจายลุกลามไปยังส่วนอื่นๆ ในร่างกายได้อีกต่างหาก เช่น ปอด ตับ และลำไส้ เป็นต้น
สัญญาณเตือนของมะเร็งกระเพาะอาหาร
อีกหนึ่งสิ่งที่น่ากลัวของมะเร็งกระเพาะอาหารก็คือ เมื่อผู้ป่วยเป็นในระยะแรก จะยังไม่รับรู้ถึงอาการผิดปรกติใดๆ ทำให้เซลล์แพร่เชื้อได้มากขึ้น และมีขนาดที่โตขึ้น ส่วนใหญ่จะพบเชื้อเมื่อเซลล์มีขนาดที่ใหญ่ขึ้นแล้ว หรือไม่ก็เป็นระยะลุกลาม เมื่อมะเร็งเข้าสู่ระยะลุกลาม จะมีอาการต่างๆ แสดงออกมาดังนี้คือ
อาการเริ่มแรกจะมีอาการเล็กน้อยเท่านั้น เช่น รู้สึกเบื่ออาหาร มีอาการท้องอืดบ่อยๆ โดยเฉพาะหลังรับประทานอาหาร มีอาการเหมือนกรดไหลย้อนหรือแสบหน้าอก คลื่นไส้บ่อย หรือบางท่านก็เริ่มรู้สึกเบื่ออาหาร อาการเหล่านี้จะพบในผู้ป่วยที่อยู่ในระยะแรก ยังไม่รุนแรง
แต่หากผู้ป่วยเข้าสู่ระยะที่ลุกลามแล้ว หรือก้อนเนื้อมีขนาดที่ใหญ่ขึ้น ก็จะมีอาการอื่นๆ เพิ่มเติมเข้ามาอีก เช่น รู้สึกไม่สบายท้องตลอดเวลา ไอปนเลือดหรือบางครั้งก็อาเจียนปนเลือด น้ำหนักตัวลดลงอย่างรวดเร็ว บางรายอุจจาระเป็นเลือด
7 สาเหตุหลัก ที่ทำให้เกิดมะเร็งกระเพาะอาหาร
มะเร็งกระเพาะอาหาร ส่วนใหญ่แล้วมักเกิดจากพฤติกรรมการใช้ชีวิตของเรา หากทำพฤติกรรมที่เสี่ยง ก็มีโอกาสสูงที่จะเกิดมะเร็งกระเพาะอาหาร สาเหตุหลักที่พบเจอได้บ่อยคือ
- ทานอาหารที่มีรสเค็มจัด
หรือมีส่วนผสมของโซเดียมสูง ทำให้เสี่ยงมากกว่าคนที่ไม่กินเค็ม
- ติดเชื้อแบคทีเรียในกระเพาะ
เชื้อ Helicobacter pylori (H.pylori) เป็นเชื้อที่ทำให้เกิดการอักเสบ และเกิดแผลในกระเพาะอาหาร เมื่อเซลล์ในกระเพาะอาหารมีการติดเชื้อ เชื้อเหล่านั้นก็มีโอกาสที่จะพัฒนาเป็นเซลล์มะเร็งได้ในที่สุด
- อายุที่มากขึ้น
ผู้ที่มีอายุมากกว่า 50 ปีขึ้นไป มีความเสี่ยงมากกว่าผู้ที่อายุน้อย
- เพศ
เพศชายมีความเสี่ยงที่จะเป็นมะเร็งกระเพาะอาหารมากกว่าผู้หญิงมากถึง 2 เท่า
- มีประวัติการบาดเจ็บที่กระเพาะอาหาร
เช่นผู้ที่เคยได้รับอุบัติเหตุเกี่ยวกับกระเพาะ หรือคนที่เคยเข้ารับการผ่าตัดกระเพาะมาก่อน
- โรคอ้วน
หรือคนที่มีไขมันในร่างกายสูง
- การสูบบุหรี่
ผู้ที่สูบบุหรี่ มีความเสี่ยงที่จะเป็นมะเร็งกระเพาะอาหารมากกว่าผู้ที่ไม่สูบ
- มีโรคประจำตัวอยู่แล้ว
เช่น คนที่เป็นโรคความดันโลหิต หรือมีอาการเกี่ยวกับกระเพาะเป็นประจำอยู่แล้ว
แนวทางในการรักษามะเร็งกระเพาะอาหาร
ในการรักษามะเร็งกระเพาะอาหารนั้น แพทย์จะรักษาตามความรุนแรงของผู้ป่วย โดยแบ่งตามระยะของมะเร็ง จะใช้วิธีที่แตกต่างกัน มีทั้งหมด 3 แบบก็คือ
- ผู้ป่วยที่อยู่ในระยะที่ 1
ระยะนี้ผู้ป่วยจะยังไม่มีอาการผิดปรกติใดๆ เพราะว่ามะเร็งยังกินเนื้อกระเพาะไม่ลึกมาก อาจจะรู้สึกเพียงแค่มีการปวดท้องบ้างเล็กน้อย หากแพทย์ตรวจพบว่าผู้ป่วยอยู่ในระยะที่ 1 ก็จะทำการรักษาด้วยการผ่าตัด หลังจากที่ผ่าตัดเอาชิ้นเนื้อออกแล้ว ผู้ป่วยก็มีโอกาสหายขาดได้
- ผู้ป่วยที่อยู่ในระยะที่ 2 หรือ 3
ระยะนี้เป็นระยะที่มะเร็งเริ่มมีการลุกลามแล้ว และจะกินเนื้อกระเพาะลงไปได้ลึกกว่าระยะที่ 1 ผู้ป่วยจะมีอาการแสดงออกมาให้เห็นมากขึ้น ในระยะนี้แพทย์จะรักษาด้วยวิธีการผ่าตัดกระเพาะ บางครั้งอาจต้องทำควบคู่กับการใช้ยาเคมีบำบัด เพื่อให้ได้ประสิทธิภาพมากขึ้น
- ผู้ป่วยที่เป็นมะเร็งระยะที่ 4
ระยะนี้จะเป็นระยะที่มะเร็งได้มีการกระจายไปทั่วกระเพาะแล้ว หรืออาจจะกระจายไปยังอวัยวะส่วนอื่นในร่างกายด้วย เช่น ปอด ตับ ลำไส้ ระยะนี้แพทย์ต้องรักษาด้วยการผ่าตัด ร่วมกับการใช้ยาเคมี หลังจากนั้นก็ต้องดูแลผู้ป่วยตามอาการแบบประคับประคองอาการไปเรื่อยๆ ให้ผู้ป่วยรู้สึกดี และสบายใจมากที่สุด
มะเร็งกระเพาะอาหาร ป้องกันได้อย่างไร
อย่างที่ได้กล่าวไปข้างต้น ว่ามะเร็งกระเพาะอาหาร เกิดจากพฤติกรรมและการใช้ชีวิตของเราเองเป็นส่วนใหญ่ เพราะฉะนั้นการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมใหม่ ก็สามารถช่วยป้องกันการเกิดโรคร้ายนี้ได้ วิธีการป้องกันได้แก่
- หลีกเลี่ยงอาหารที่มีรสจัด เช่น อาหารที่มีรสเค็ม ของทอด ของปิ้งย่าง ของหมักดองทั้งหลาย ซึ่งส่งผลเสียกับกระเพาะอาการ
- รับประทานอาหารที่สดสะอาดทุกมื้อ ควรรับประทานอาการที่ปรุงสุกใหม่ และใช้ภาชนะที่สะอาดถูกสุขลักษณะเท่านั้น โดยเฉพาะการทานอาหารนอกบ้าน ต้องเลือกร้านให้ดีๆ ก่อนเข้า
- ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้ร่างกายทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อให้ระบบต่างๆ ทำง่ายได้ปรกติ
- กินผักผลไม้ให้หลากหลาย การรับประทานผักผลไม้ จะช่วยให้ร่างกายได้รับใยอาหาร ซึ่งจะช่วยส่งผลดีในการย่อยอาหารของกระเพาะ อีกทั้งยังช่วยป้องกันท้องผูกได้ด้วย
- หลีกเลี่ยงการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
- งดสูบบุหรี่
- พักผ่อนให้เพียงพอ เพื่อให้ระบบต่างๆ ในร่างกาย รวมถึงกระเพาะ ได้ทำงานเต็มประสิทธิภาพ ไม่ผิดพลาด
- ตรวจคัดกรองมะเร็งกระเพาะ เพื่อจะได้รู้เท่าทันโรคร้าย
วิธีการตรวจมะเร็งกระเพาะอาหาร ทำอย่างไร
เนื่องจากมะเร็งกระเพาะอาหาร ไม่สามารถตรวจพบได้ ด้วยการตรวจสุขภาพประจำปีเพียงอย่างเดียว ต้องเข้ารับการตรวจแบบคัดกรองเท่านั้น ถึงจะสามารถทราบได้ว่าเรามีความเสี่ยงหรือเป็นมะเร็งกระเพาะแล้วหรือยัง มีการตรวจด้วยกันดังนี้คือ
- การส่องกล้อง
โดยแพทย์จะใช้กล้องสอดเข้าไปบริเวณทางเดินอาหาร เพื่อส่งเข้าไปดูในกระเพาะอาหาร ว่ามีความผิดปรกติหรือไม่ หากแพทย์พบสิ่งที่ผิดปรกติในกระเพาะอาหาร ก็สามารถตัดชิ้นเนื้อในกระเพาะนำมาตรวจวินิจฉัยต่อไปได้
- การสแกนด้วยระบบคอมพิวเตอร์
เป็นการตรวจหาความผิดปรกติในร่างกาย เพื่อดูตำแหน่งของสิ่งผิดปรกติในร่างกาย ข้อดีของการตรวจด้วยวิธีนี้คือ จะได้ข้อมูลที่ละเอียดมากกว่า เป็นวิธีการตรวจที่ทันสมัยที่สุด เพราะเห็นภาพได้ทุกมุม ดีกว่าการตรวจด้วยการเอกซเรย์ทั่วไป
ผู้ป่วยที่เป็นมะเร็งกระเพาะอาหาร ควรดูแลตัวเองอย่างไร
เมื่อทราบว่าเป็นมะเร็งกระเพาะอาหาร สิ่งที่ผู้ป่วยต้องทำทันทีเลยก็คือ การเปลี่ยนพฤติกรรมของตัวเองใหม่ ได้แก่ การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการกินอาหารใหม่ทั้งหมด การเลือกอาหารที่จะรับประทาน ต้องเป็นอาหารที่มีประโยชน์กับร่างกาย ไม่มีความเสี่ยงอื่นๆ หมั่นออกกำลังกายตามความเหมาะสม ไม่จำเป็นต้องหักโหม และความเลิกดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ทุกชนิด งดสูบบุหรี่ไปเลยในทันที เพราะสิ่งเหล่านี้มีแต่จะทำให้ร่างกายและอาการทรุดลงหนักขึ้นกว่าเดิม และที่สำคัญ ควรรักษาใจตัวเอง ให้หลีกเลี่ยงความเครียดต่างๆ เนื่องจากปัจจัยความเครียด ส่งผลกับร่างกายไม่น้อยทีเดียว อาจทำให้อาการทรุดหนักได้เลย และที่สำคัญควรเข้ารับการตรวจรักษาจากแพทย์ทุกครั้ง เพื่อดูการเปลี่ยนแปลงของโรค
สรุปส่งท้าย
สิ่งใดที่เรารับประทานเข้าสู่ร่างกาย สิ่งนั้นก็ย่อมส่งผลกับร่างกายของเราเช่นกัน เพราะฉะนั้นควรเลือกรับประทานอาหารให้เป็น เพื่อจะได้ห่างไกลจากมะเร็งกระเพาะอาหาร
คำถามที่เกี่ยวกับมะเร็งกระเพาะอาหาร
หากแพทย์ตรวจพบตั้งแต่เนิ่นๆ หรือมะเร็งยังอยู่ในระยะเริ่มต้น คือระยะที่ 1 ก็สามารถรักษาให้หายขาดได้ ด้วยวิธีการผ่าตัดเอาชิ้นเนื้อออก
ผู้ป่วยที่ควรเข้ารับการตรวจคัดกรองมะเร็งกระเพาะอาหารได้แก่ คนที่มีประวัติคนในครอบครัวเคยเป็นมาก่อน, คนที่มีอายุตั้งแต่ 45-50 ปีขึ้นไป, คนที่สูบบุหรี่หรือดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เป็นประจำ, คนที่มีโรคอ้วน หรือมีโรคประจำตัวอยู่แล้ว, และคนที่รู้สึกถึงความผิดปรกติของกระเพาะ เช่น ปวดท้อง ท้องเสียบ่อย เป็นต้น
วิธีที่ทำให้ได้ง่ายที่สุดก็คือ การเปลี่ยนพฤติกรรมการกินอาหารของตนเอง และเปลี่ยนพฤติกรรมอื่นๆ เช่น หมั่นออกกำลังกายให้มากขึ้น พักผ่อนให้เพียงพอตามเวลา และเข้ารับการตรวจคัดกรองมะเร็งทุกปี ก็จะช่วยให้ห่างไกลจากมะเร็งได้เช่นกัน