6 อาหารต้านโรคหัวใจ โรคร้ายที่ป้องกันได้ง่ายๆ ด้วยตัวเราเอง

6 อาหารต้านโรคหัวใจ โรคร้ายที่ป้องกันได้ง่ายๆ ด้วยตัวเราเอง

แชร์เรื่องนี้

โรคหัวใจ เป็นโรคร้ายที่อันตรายที่สุด เพราะเมื่อหัวใจของเราเกิดความผิดปกติขึ้น ก็หมายถึงชีวิตได้เลย ฉะนั้นการหาทางป้องกันโรคหัวใจ ให้ห่างไกลจากโรคร้ายชนิดนี้ เป็นวิธีที่ควรทำความเข้าใจไว้ก่อน

โรคหัวใจ คืออะไร

โรคหัวใจ หมายถึง ความผิดปกติของหัวใจ ที่เกิดจากโรคต่างๆ ซึ่งมีหลายโรค หลายอาการ แต่ละโรคก็จะมีการแสดงอาการแตกต่างกันออกไป แต่ไม่ว่าจะเป็นโรคหัวใจชนิดใด ก็ล้วนแต่อันตรายต่อตัวของผู้ป่วยทั้งสิ้น หากไม่ได้รับการรักษาที่ถูกต้องตั้งแต่เนิ่นๆ ผู้ป่วยมีโอกาสที่จะเสียชีวิตได้เลย แต่ถ้ารู้ทันโรค และรักษาได้ทันเวลา ความรุนแรงของโรคก็น้อยลง มีโอกาสหายขาดได้ด้วย

ประเภทของโรคหัวใจ

ความจริงแล้วโรคหัวใจ แบ่งออกได้หลายชนิดแตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับสาเหตุของโรคแต่ละโรค ปัจจุบันสามารถแบ่งออกได้ 6 ประเภทดังนี้คือ

โรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ
  • โรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ คือภาวะที่หัวใจเต้นช้า หรือเต้นเร็วกว่าปกติ ตัวของผู้ป่วยจะรู้สึกเหนื่อยง่าย หน้ามืด และเวียนศีรษะ
โรคหลอดเลือดในหัวใจ
  • โรคหลอดเลือดในหัวใจ ผู้ป่วยจะรู้สึกแน่นที่หน้าอก มีอาการอ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย
โรคหัวใจพิการตั้งแต่กำเนิด
โรคหัวใจพิการตั้งแต่กำเนิด
  • โรคหัวใจพิการตั้งแต่กำเนิด โรคนี้จะเกิดกับทารกตั้งแต่ที่อยู่ในครรภ์มารดา เด็กจะเลี้ยงไม่โต
โรคกล้ามเนื้อหัวใจ
โรคกล้ามเนื้อหัวใจ
  • โรคกล้ามเนื้อหัวใจ เวลาที่ต้องออกแรงมากๆ จะรู้สึกเหนื่อยง่าย แขนขาบวม นอนหลับไม่สนิท
โรคลิ้นหัวใจ
  • โรคลิ้นหัวใจ เกิดจากความผิดปกติของลิ้นหัวใจ ผู้ป่วยจะรู้สึกเหนื่อยง่าย บางรายอาจหัวใจวายได้
โรคติดเชื้อที่หัวใจ
  • โรคติดเชื้อที่หัวใจ ผู้ป่วยจะมีอาการหัวใจเต้นผิดจังหวะ เหนื่อยง่าย อ่อนเพลีย

ความอันตรายของโรคหัวใจ

ผู้ป่วยที่เป็นโรคหัวใจ ถ้าหากยังไม่ได้รับการรักษาตั้งแต่เนิ่นๆ มีโอกาสสูงที่จะเสี่ยงต่อชีวิต เพราะโรคหัวใจมักจะตามมาด้วยอาการแทรกซ้อนต่างๆ และอาการแทรกซ้อนเหล่านี้ ก็เป็นสาเหตุที่ทำให้ผู้ป่วยเสียชีวิต อาการแทรกซ้อนที่พบได้บ่อยได้แก่
ภาวะหัวใจล้มเหลว มีสาเหตุมาจากหัวใจสูบเลือดไปเลี้ยงร่างกายไม่เพียงพอ เป็นโรคแทรกซ้อนที่พบได้บ่อยที่สุดในบรรดาอาการแทรกซ้อนทุกโรค ตามมาด้วยโรคหลอดเลือดสมอง โรคหลอดเลือดส่วนปลาย และภาวะหัวใจหยุดเต้นกะทันหัน เนื่องจากการทำงานของหัวใจผิดปกติ ทำให้ผู้ป่วยหมดสติทันที โดยที่ไม่มีอาการหรือรู้ตัวมาก่อน อาการแทรกซ้อนเหล่านี้ นับว่ามีความอันตรายและเสี่ยงต่อชีวิตสูงมาก ถ้าไม่สามารถนำตัวส่งโรงพยาบาลได้ทันเวลา ก็อันตรายถึงชีวิตได้เลย ฉะนั้นโรคหัวใจเราจึงไม่ควรมองข้าม

สาเหตุที่ทำให้เกิดโรคหัวใจ

โรคหัวใจ สามารถเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ บางสาเหตุเราสามารถป้องกันได้ แต่บางสาเหตุก็ป้องกันไม่ได้ เช่น ประวัติคนในครอบครัวที่เคยเป็นโรค อันนี้เราป้องกันไม่ได้ แต่มีปัจจัยเสี่ยงที่ควบคุมได้อีกหลายอย่าง ที่เสี่ยงไม่แพ้กัน หากเราเลี่ยงปัจจัยเหล่านี้ได้ ก็ทำให้ห่างไกลจากโรคหัวใจได้ มีอะไรบ้าง

การสูบบุหรี่
  • การสูบบุหรี่ ในบุหรี่มีสารพิษมากกว่าร้อยชนิด ที่อันตรายกับอวัยในร่างกายหลายส่วน ทั้งปอด สมอง ตับ และหัวใจ คนที่สูบบุหรี่ มีความเสี่ยงในการเกิดโรคหัวใจ สูงกว่าผู้ที่ไม่สูบบุหรี่มากกว่า 3 เท่า
การกินอาหารฟาสต์ฟู๊ด
การกินอาหารฟาสต์ฟู๊ด
  • การกินอาหารฟาสต์ฟู๊ด หรืออาหารที่มีเกลือ น้ำตาล ที่มีคอเลสเตอรอลสูง อาหารเหล่านี้จะส่งผลกับการทำงานของหัวใจ และทำให้เกิดโรคหัวใจได้ด้วย
โรคประจำตัว
  • โรคประจำตัว เช่น คนที่เป็นโรคเบาหวาน มักจะพ่วงมากับโรคหัวใจเสมอ
มีคอเลสเตอรอลในร่างกายสูง
มีคอเลสเตอรอลในร่างกายสูง
  • มีคอเลสเตอรอลในร่างกายสูง หากในร่างกายของเรามีระดับคอเลสเตอรอลในปริมาณที่สูงกว่าปกติ ยิ่งเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจมากขึ้นเท่านั้น
โรคอ้วน
  • โรคอ้วน หรือคนที่มีน้ำหนักเกิน มักเกิดโรคหัวใจได้ง่ายคนที่หุ่นปกติ นอกจากนี้ยังมีโรคอีกหลายอย่างตามมา เช่น ไขมันในเลือด โรคเบาหวาน เป็นต้น ซึ่งล้วนแต่เป็นโรคที่อันตรายทั้งสิ้น
ไม่ออกกำลังกาย
ไม่ออกกำลังกาย
  • ไม่ออกกำลังกาย จะทำให้ร่างกายเสี่ยงต่อการเกิดโรคได้ง่าย และร่างกายไม่แข็งแรงเท่าที่ควร
อาหารที่ช่วยต้านโรคหัวใจ

สิ่งที่จะช่วยให้เราห่างไกลจากโรคหัวใจได้ ก็คือการเลือกรับประทานอาหารที่มีคุณสมบัติในการช่วยต้านโรคหัวใจ

  • ผักใบเขียวทั้งหลาย
ผักใบเขียว
ผักใบเขียว

ในผักใบเขียวจะมีสารต้านอนุมูนอิสระในปริมาณที่เยอะพอสมควร ซึ่งสารเหล่านี้จะมีประโยชน์กับร่างกายของเราไม่น้อยเลยทีเดียว เพราะว่าช่วยในการต้านโรคหัวใจได้ และโรคมะเร็งได้ นอกจากนี้ในผักใบเขียวยังมีไฟเบอร์สูง ช่วยในการขับถ่าย ป้องกันท้องผูกได้ด้วย

  • ถั่วเปลือกแข็ง
ถั่วเปลือกแข็ง
ถั่วเปลือกแข็ง

เช่นถั่วลิสง จะมีสารอัลฟาลิโลเลนิก ที่จะช่วยลดความดันโลหิตสูงได้ แต่ควรรับประทานในปริมาณที่เหมาะสม ประมาณ 1 อุ้งมือต่อวัน เพราะหากรับประทานในปริมาณที่มากเกินไป ก็อาจจะทำให้น้ำหนักเพิ่มขึ้นได้

  • อะโวคาโด้
อะโวคาโด้
อะโวคาโด้

นับว่าเป็นซูเปอร์ฟู๊ดเลยก็ว่าได้ ที่ทั่วโลกยกย่องว่ามีประโยชน์สูงมาก การรับประทานอะโวคาโด้ 1 ผลต่อวัน จะช่วยป้องกันความดันโลหิตได้ ทำให้ห่างไกลจากโรคหัวใจด้วย และทุกวันนี้อะโวคาโด้ก็ราคาไม่แพง หาซื้อได้ง่าย ควรหามารับประทานให้ได้เลย

  • ข้าวที่ไม่ผ่านการขัดสี
ข้าวที่ไม่ผ่านการขัดสี

ได้แก่ ข้าวโอ๊ต ข้าวกล้อง ในข้าวประเภทนี้จะมีสารอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกายมากกว่าข้าวที่ผ่านการขัดสีหรือข้าวขาว ซึ่งข้าวที่ไม่ผ่านการขัดสี จะมีไฟเบอร์ มีวิตามินที่สำคัญ ที่จะช่วยลดไขมันในร่างกาย และรักษาระดับคอเลสเตอรอล และยังช่วยป้องกันให้ห่างไกลจากโรคหัวใจ

  • ผลไม้ในตระกูลเบอรี่
ผลไม้ในตระกูลเบอรี่
ผลไม้ในตระกูลเบอรี่

ในผลไม้ตระกูลนี้ ไม่ว่าจะเป็น สตรอเบอรี่ บลูเบอรี่ มัลเบอรี่ ราซเบอรี่ จะอุดมไปด้วยวิตามินที่สำคัญ เช่น วิตามินซี รวมถึงสารต้านอนุมูนอิสระ ที่ช่วยป้องกันมะเร็ง และป้องกันโรคหัวใจ นอกจากนี้ยังอุดมไปด้วยไฟเบอร์ ทำให้ช่วยป้องกันโรคท้องผูกได้ การทานผลไม้ตระกูลเบอรี่ทุกวัน ยังช่วยลดความเครียดได้อีกต่างหาก

  • ปลาทะเล
ปลาทะเล
ปลาทะเล

ในปลาทะเลจะอุดมไปด้วยโอเมก้า 3 ที่จะช่วยป้องกันลดการอักเสบในหลอดเลือด การทานปลาทะเลเป็นประจำ เช่น ปลาทูน่า ปลาซาดีน ปลาแซลม่อน จะช่วยให้ห่างไกลจากโรคหัวใจ ไม่จำเป็นต้องทานทุกวันก็ได้ อย่างน้อยสัปดาห์ละ 1-2 ครั้งก็เพียงพอ

แนวทางการป้องกันให้ห่างไกลจากโรคหัวใจ

แม้ว่าการทานอาหารจะเป็นส่วนสำคัญในการป้องกันโรคหัวใจแล้ว จะต้องทำควบคู่กับสิ่งอื่นอีกด้วย ถึงจะได้ประโยชน์สูงสุด และป้องกันความเสี่ยงได้ดีที่สุด ได้แก่ การออกกำลังกาย เพราะเป็นการลดไขมันในร่างกาย ทำให้ร่างกายแข็งแรง เพิ่มภูมิต้านทานโรค ไม่ป่วยง่าย การออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ อย่างน้อยวันละ 30 นาที จะช่วยทำให้หัวใจแข็งแรง ป้องกันโรคอ้วน และที่สำคัญอีกข้อก็คือ การตรวจสุขภาพประจำปี อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง จะช่วยให้เราทราบการเปลี่ยนแปลงของร่างกายตัวเอง ว่าตอนนี้มีความเสี่ยงต่อโรคอะไรบ้างหรือไม่ หากรู้ทันโรคตั้งแต่เนิ่นๆ ก็สามารถรักษาให้หายขาดได้ทันที แต่ถ้ารู้ช้า ก็อาจเสี่ยงอันตรายต่อชีวิตได้ ดังนั้นการตรวจสุขภาพประจำปี จำเป็นสิ่งที่สำคัญไม่แพ้กัน

สรุปส่งท้าย

ตอนนี้เราก็ได้รู้แล้วว่า การทานอาหารที่มีประโยชน์ และเลือกรับประทานอาหารให้เป็น จะช่วยให้ห่างไกลจากโรคหัวใจได้ ดังนั้นควรปรับเปลี่ยนการรับประทานอาหารของเราตั้งแต่วันนี้เลยจะดีที่สุด เพื่อเป็นการป้องกันในระยะยาวด้วย

คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับโรคหัวใจ

โรคหัวใจรักษาให้หายได้หรือไม่?

โรคหัวใจสามารถรักษาให้หายได้ ถ้าตรวจพบตั้งแต่เนิ่นๆ การรักษาก็ง่ายขึ้น แต่ถ้าปล่อยไว้ ก็จะเสี่ยงที่จะมีอาการแทรกซ้อนอย่างอื่น การรักษาก็ยากขึ้น ฉะนั้นถ้ามีอาการผิดปกติ ก็ควรเข้ารับการตรวจวินิจฉัยทันที

ทำอย่างไรถึงจะไม่ห่างไกลจากโรคหัวใจที่ง่ายที่สุด?

วิธีป้องกันโรคหัวใจที่เราทำได้ด้วยตัวเองก็คือ การเลือกทานอาหารที่มีประโยชน์ ตามที่ได้แนะนำไปข้างต้น การออกกำลังหายให้เหมาะสม เป็นประจำทุกวันอย่างสม่ำเสมอ และการตรวจสุขภาพประจำปี เท่านี้ก็จะช่วยให้ห่างไกลจากโรคได้แล้ว หรือหากเป็นโรคจริงๆ ก็รักษาได้ง่ายกว่าด้วย

ใครบ้างที่ควรเข้ารับการตรวจโรคหัวใจ?

คนที่มีอายุตั้งแต่ 40 ปีขึ้นไป มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจมากกว่าคนอายุน้อย ควรเข้ารับการตรวจสุขภาพอย่างสม่ำเสมอ และหากรู้สึกถึงความผิดปกติเกี่ยวกับหัวใจ ไม่ว่าจะเป็นอาการใดๆ ก็ตาม ควรรีบเข้ารับการตรวจจากแพทย์ทันที เพราะถือว่าเป็นสัญญาณเตือนโรค หากปล่อยไว้อาจอันตรายถึงชีวิตได้


แชร์เรื่องนี้