5 อาหารบำรุงไต ช่วยป้องกันไม่ให้ไตเสื่อม

5 อาหารบำรุงไต ช่วยป้องกันไม่ให้ไตเสื่อม

แชร์เรื่องนี้

อาหารบำรุงไต ทำให้ไตแข็งแรง ไม่เสื่อมเร็ว ขึ้นอยู่ที่การรับประทานอาหารของเราเอง หากเลือกรับประทานอาหารได้ถูกวิธี ไม่ทานอาหารที่เสี่ยงต่อการทำลายไต ก็จะทำให้สุขภาพไตของเราดีวันดีคืนตามไปด้วย


อาหารที่ช่วยบำรุงไตได้ดีที่สุด

  • ปลาทะเล
ปลาทะเล

การทานเนื้อปลาทะเล เช่น ปลาแซลม่อน ปลาทูน่า จะช่วยเสริมสร้างสุขภาพไตของเราให้ดีขึ้นได้ เพราะว่าในปลาทะเลจะอุดมไปด้วยโอเมก้า 3 ซึ่งไขมันตัวนี้เป็นไขมันดี ช่วยป้องกันการอักเสบได้ และทำให้ระดับไขมันไม่สูงเกินไป ที่สำคัญยังช่วยป้องกันการเกิดโรคความดันโลหิตอีกด้วย ซึ่งโรคความดันโลหิต ก็เป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดโรคไตเช่นกัน ฉะนั้นการทานปลาทะเลเป็นประจำ จะช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดโรคไตได้ และทำให้สุขภาพไตแข็งแรง

  • ลูกเดือย
ลูกเดือย

แม้จะเป็นธัญพืชที่ดูเหมือนไม่มีอะไร แต่ว่าประโยชน์ของลูกเดือยนี่เยอะมากทีเดียวสำหรับลูกเดือย เพราะว่าประโยชน์ของลูกเดือยนั้น มีคุณสมบัติทางยาอยู่ด้วย โดยมีคุณสมบัติเป็นยาขับปัสสาวะ ป้องกันการตกค้างของสารพิษในไต ลดการบวมน้ำ บำรุงตับและไตได้เป็นอย่างดี สามารถรับประทานได้ทุกวัน หาทานได้ง่าย ราคาไม่แพงด้วย

  • ไขมันดี
ไขมันดี

คือไขมันที่มาจากไขมันอิ่มตัวเชิงเดียว ได้แก่ไขมันที่มาจากพืชเช่นประเภท น้ำมันรำข้าว น้ำมันมะกอก ซึ่งถือว่าเป็นไขมันดี ไขมันเหล่านี้จะช่วยลดการอักเสบได้ ไม่เกิดผลเสียกับตับ ช่วยบำรุงตัด ซึ่งผู้ป่วยที่เป็นโรคไตก็สามารถทานไขมันประเภทนี้ได้ จะดีกว่าการรับประทานไขมันที่มาจากสัตว์

  • กระเทียม
กระเทียม

เป็นสมุนไพรที่มีประโยชน์หลายอย่าง และเป็นเครื่องเทศที่สำคัญในการปรุงอาหารเมนูต่างๆ การรับประทานกระเทียม จะช่วยให้ร่างกายได้รับวิตามินและแร่ธาตุหลายชนิด เช่น วิตามินบี 6 ซัลเฟอร์ วิตามินซี และยังมีสารต้านอนุมูนอิสระ ที่ช่วยป้องกันการเกิดโรคไต โรคมะเร็งและหลอดเลือด เป็น อาหารบำรุงไต ที่เราสามารถทานได้ทุกวันเลย

  • สับปะรด
สับปะรด

เป็นผลไม้ที่รสชาติเปรี้ยวหวาน อร่อย ในสับปะรดมีวิตามินหลายชนิด เช่น วิตามินซี รวมถึงไฟเบอร์ด้วย การรับประทานสับปะรด จะช่วยป้องกันการอักเสบ และสับปะรดยังมีคุณสมบัติช่วยขับปัสสาวะได้ด้วย ลดความเสี่ยงของการเกิดนิ่ว เพราะฉะนั้น การทานสับปะรดทุกวัน จึงทำให้สุขภาพไตดีขึ้นได้

ผู้ป่วยที่เป็นโรคไตเรื้อรัง ควรรับประทานอาหารอย่างไร

สำหรับผู้ป่วยที่มีปัญหาเกี่ยวกับไต หรือว่าเป็นโรคไตเรื้อรังอยูแล้ว สิ่งที่ต้องระวังก็คือ เรื่องของการรับประทานอาหาร อันนี้สำคัญมาก ต้องเลือกรับประทานอาหารให้ถูกประเภท อันไหนที่ควรหลีกเลี่ยงก็ควรหลีกเลี่ยง มาดูว่าแนวทางการทานอาหารของผู้ป่วยโรคไต ทำอย่างไร

ผู้ป่วยที่เป็นโรคไตเรื้อรัง ควรรับประทานอาหารอย่างไร
  • จำกัดพลังงานจากการทานอาหาร ผู้ป่วยโรคไต ต้องมีการจำกัดพลังงานในปริมาณที่เหมาะสม และน้อยลงกว่าปกติ ไม่ควรเกิน 30-35 กิโลแคลอรี่ต่อกิโลกรัมน้ำหนัก ที่ต้องมีการจำกัดก็เพื่อให้ร่างกายทำงานไม่หนักเกินไปนั่นเอง
  • โปรตีน เป็นสารอาหารที่สำคัญกับร่างกายที่สุดอีกหนึ่งชนิด ในการช่วยซ่อมแซมส่วนต่างๆ ของร่างกาย ปริมาณโปรตีนที่เหมาะสมกับผู้ป่วยโรคไต คือต้องได้รับโปรตีนประมาณ 0.6-0.8 ต่อกิโลกรัมน้ำหนัก เพื่อไม่โปรตีนที่รับประทานเข้าไปกลายเป็นส่วนเกินหรือขยะ เพราะสุดท้ายแล้วหากโปรตีนเกินความจำเป็น ก็จะถูกขับออกมาทางไต ทำให้ไตทำงานหนักขึ้นไปอีก
  • ไขมัน ร่างกายของเราต้องการไขมันในการป้องกันการอักเสบ แต่ไขมันที่ผู้ป่วยโรคไตควรรับประทานนั้น ควรเน้นเฉพาะไขมันดีอย่างเดียว ซึ่ง อาหารบำรุงไต ประเภทไขมันดีได้แก่ น้ำมันมะกอก น้ำมันรำข้าว น้ำมันดอกคำฝอย เป็นต้น
  • โพแทสเซียม เป็นอาหารที่ผู้ป่วยโรคไต หรือมีปัญหาเกี่ยวกับไตควรระวัง เพราะหากรับประทานอาหารที่มีโพแทสเซียมเข้าไปเยอะๆ จะทำให้เกิดความผิดปกติกับไตได้ หรือทำให้อาการหนักยิ่งขึ้น ฉะนั้นควรหลีกเลี่ยงไปเลยจะดีที่สุด
  • ฟอสฟอรัส แม้ว่าจะเป็นแร่ธาตุสำคัญในการช่วยบำรุงกระดูกและฟัน แต่สำหรับผู้ป่วยโรคไตแล้ว เป็นสิ่งที่ต้องหลีกเลี่ยง เพราะการรับประทานอาหารที่มีฟอสฟอรัสเข้าไป จะทำให้เสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด อีกทั้งยังเสี่ยงต่อการเกิดหินปูนในหลอดเลือดด้วย

เหตุผลที่ผู้ป่วยโรคไต ต้องดูแลเรื่องอาหารให้ดี

หลายท่านอาจจะคิดว่าการควบคุมอาหารของผู้ป่วยโรคไต ไม่ใช่เรื่องสำคัญอะไรเท่าไหร่ แต่อันที่จริงแล้วสำคัญมาก มาดูว่าเพราะอะไรถึงต้องมีการควบคุมอาหาร

  • ยืดอายุของไตให้ยาวนานขึ้น หรือเป็นการป้องกันไม่ให้ไตเสื่อมเร็วกว่าปกตินั่นเอง
  • ไม่ต้องเสี่ยงฟอกเลือด หรือยืดเวลาในการฟอกเลือดออกไป
  • ให้ผู้ป่วยโรคไตมีสุขภาพทีดี เหมือนกับคนปกติทั่วไป
  • เป็นการควบคุมปริมาณสารอาหารให้เหมาะสมกับผู้ป่วย โดยให้ผู้ป่วยได้รับสารอาหารที่ครบถ้วนทุกอย่าง แต่ไม่ส่งผลกระทบกับโรคไต

อาหารที่มีอันตรายต่อไตมากที่สุด ที่ควรหลีกเลี่ยง

เมื่อรู้เกี่ยวกับ อาหารบำรุงไต กันไปแล้ว สิ่งที่ผู้ป่วยโรคไตต้องรู้นอกเหนือจากนั้นก็คือ อาหารที่ห้ามรับประทานสำหรับผู้ป่วยโรคไต เพราะหากทานเข้าไปแล้ว จะส่งผลเสียอย่างรุนแรง และทำให้อาการแย่ลงกว่าเดิมได้ มีอาหารชนิดใดบ้าง

อาหารที่มีอันตรายต่อไตมากที่สุด ที่ควรหลีกเลี่ยง
  • อาหารที่มีเกลือเยอะ เช่น อาหารประเภทฟาสต์ฟู๊ด น้ำซุปก๋วยเตี๋ยว หรือซอสต่างๆ ควรหลีกเลี่ยงเลย เพราะว่ามีโซเดียมอยู่เยอะมาก
  • อาหารที่ผ่านการแปรรูปหลายๆ ขั้นตอน อาหารประเภทนี้ก็มีการใส่โซเดียมเข้าไปเช่นกัน เช่น ไส้กรอก ลูกชิ่น แฮมต่างๆ และยังมีสารกันบูดด้วย ซึ่งก็เป็นอันตรายกับร่างกายของเราได้เช่นกัน
  • อาหารประเภทหมักดอง เช่น ปลาร้า ผลไม้ดอง ผักดอง เพราะใช้เกลือเป็นส่วนประกอบหลักในการดอง ควรหลีกเลี่ยงทันที
  • อาหารสัตว์ที่ติดมัน เช่น หมูสามชั้น คอหมูย่าง ข้อหมู เป็นต้น เพราะมีไขมันที่ไม่ดีอยู่ในปริมาณที่เยอะ เมื่อทานเข้าไปแล้วเสี่ยงทำให้เกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด และโรคไตเรื้อรัง
ผู้ป่วยโรคไตควรดูแลตัวเองอย่างไร

สำหรับผู้ที่ป่วยเป็นโรคไต สิ่งที่ต้องปฏิบัติทุกวันได้แก่

ผู้ป่วยโรคไตควรดูแลตัวเองอย่างไร
  • การควบคุมอาหาร อย่างที่ได้กล่าวไปข้างต้น ว่ามีอาหารชนิดใดที่ควรงด ควรเลี่ยง
  • รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ต่อไต หรือเป็น อาหารบำรุงไต จะช่วยทำให้ไตแข็งแรงขึ้น
  • พักผ่อนให้เพียงพอ เพื่อให้ร่างกายทำงานได้ปกติ ไม่ผิดเพี้ยน
  • ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ เป็นการกระตุ้นให้อวัยวะต่างๆ ในร่างกายทำง่ายได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  • ไม่เครียด อันนี้สำคัญเลย เพราะยิ่งเราเครียดกับโรคมากเท่าไหร่ ก็ทำให้อาการทรุดหนักกว่าเดิม ฉะนั้นควรทำใจให้มีความสุขในทุกๆ วัน
  • พบแพทย์ตามนัด เพื่อเป็นการตรวจดูอาการ และความเปลี่ยนแปลงของโรค ว่ามีแนวโน้มเป็นไปในทิศทางใด ดีขึ้นหรือไม่

สรุปส่งท้าย

เพียงแค่เราเลือกรับประทาน อาหารบำรุงไต ตั้งแต่เนิ่นๆ ขณะที่ยังไม่ได้เป็นก็จะเป็นการช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดโรคที่เกี่ยวกับไตแล้ว ฉะนั้นยิ่งเราตื่นตัวได้เร็วเท่าไหร่ ก็ทำเท่ากับเป็นการยืดอายุการทำงานของไตให้ยาวนานมากขึ้นตามไปด้วย

คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับอาหารบำรุงไต

ใครบ้างที่ควรรับประทานอาหารบำรุงไต?

สามารถรับประทานได้ทุกคน ทุกเพศทุกวัย ยิ่งเริ่มต้นทานอาหารบำรุงไตได้เร็วเท่าไหร่ ก็ยิ่งมีผลดีกับสุขภาพไตของเรามากเท่านั้น ไม่จำเป็นต้องรอให้เป็นโรคไตเสียหายก่อนแล้วถึงจะมาดูแล เพราะหากเป็นขึ้นมาแล้ว จะรักษายากมาก การป้องกันถือว่าง่ายกว่า

อาหารบำรุงไต สามารถทานเยอะๆ ได้หรือไม่?

ในการรับประทานอาหารบำรุงไต ควรทานในปริมาณที่เหมาะสม เพราะหากทานในปริมาณที่สูงเกินไป อาจส่งกระทบอย่างอื่นกับร่างกาย เช่น ทำให้น้ำหนักตัวเพิ่มขึ้น ระบบการย่อยอาหารทำงานหนักขึ้น ซึ่งเท่ากับเป็นการเพิ่มภาระให้กับร่างกายไปด้วย ฉะนั้นแนะนำว่าให้ทานในปริมาณที่เหมาะสมกับน้ำหนักของตัวเราจะดีที่สุด

หากสงสัยเกี่ยวกับอาหารบำรุงไต ว่าชนิดนี้ควรทานหรือไม่ ต้องทำอย่างไร?

แนะนำว่าให้ปรึกษากับแพทย์ก่อน เพื่อขอคำแนะนำ ว่าอาหารที่เราไม่มั่นใจนั้นน สามารถทานได้หรือไม่ จะมีผลกระทบอะไรหรือไม่ ไม่ควรรับประทานโดยพลกาล หากยังไม่มั่นใจ เพราะอาจจะเกิดผลกระทบกับโรคขึ้นมาในทางใดทางหนึ่งได้ และโดยเฉพาะยาที่แพทย์ไม่ได้จ่ายให้ อันนี้ห้ามรับประทานเองเป็นอันขาด


แชร์เรื่องนี้