5 สาเหตุของมะเร็งกล่องเสียง ภัยร้ายที่อันตรายกว่าที่คิด

5 สาเหตุของมะเร็งกล่องเสียง ภัยร้ายที่อันตรายกว่าที่คิด

แชร์เรื่องนี้

มะเร็งกล่องเสียง เป็นมะเร็งอีกหนึ่งชนิดที่อันตราย และถือว่าพบเจอได้เยอะขึ้นเรื่อยๆ จากพฤติกรรมของคนที่เปลี่ยนไป วิธีที่จะช่วยให้เราห่างไกลจากโรคนี้ได้ ก็คือการทำความเข้าใจและหาทางป้องกันไว้ก่อน

มะเร็งกล่องเสียง คืออะไร

มะเร็งกล่องเสียง คือโรคที่เกิดจากความผิดปรกติเยื้อบุเซลล์บริเวณกล่องเสียง จนเสียหาย ทำให้เซลล์เหล่านั้นถูกทำลาย เมื่อเวลาผ่านไปเซลล์ก็จะกลายพันธุ์เป็นเซลล์มะเร็งต่อไป หากปล่อยเอาไว้ไม่ได้ทำการรักษาตั้งแต่เนิ่นๆ ก็เสี่ยงทำให้เสียชีวิตได้เลย ไม่ต่างจากมะเร็งชนิดอื่น ข้อแตกต่างอย่างหนึ่งของมะเร็งกล่องเสียงกับมะเร็งชนิดอื่นก็คือ มะเร็งกล่องเสียงส่วนใหญ่แล้วมักเกิดจากพฤติกรรมการใช้ชีวิตของแต่ละคน ถ้าหากเลี่ยงไม่ทำอะไรที่เสี่ยง โอกาสที่จะเกิดโรคนี้ถือว่าน้อยมากๆ

มะเร็งกล่องเสียงอันตรายอย่างไร

มะเร็งกล่องเสียง จะไม่อันตรายถึงชีวิต หากมีการตรวจพบตั้งแต่เนิ่นๆ และได้รับการรักษาจากแพทย์อย่างถูกวิธี ผู้ป่วยก็หายขาดได้ สามารถกลับมาพูดและใช้ชีวิตเหมือนกับคนปรกติ แต่หากผู้ป่วยปล่อยปละละเลย ไม่เข้ารับการตรวจ และทำการรักษาให้ถูกต้องตั้งแต่ตอนนั้น ผู้ป่วยก็มีโอกาสที่จะทำให้ถึงแก่ชีวิตได้เลย โดยเฉพาะในช่วงที่มะเร็งกำลังลุกลาม ผู้ป่วยจะรู้สึกทรมานมากขึ้น เพราะหายใจไม่สะดวก ทานอาหารลำบาก และจะเสียชีวิตภายในเวลาไม่เกิน 1 ปี

อาการของผู้ป่วยมะเร็งกล่องเสียง

ผู้ป่วยที่เป็นโรคมะเร็งกล่องเสียง จะมีอาการที่ค่อนข้างแตกต่างจากมะเร็งชนิดอื่น เพราะว่ามะเร็งกล่องเสียงจะเริ่มแสดงอาการตั้งแต่ระยะแรกเลย ไม่ต้องรอให้ถึงระยะลุกลาม เพราะฉะนั้นผู้ป่วยจึงสามารถรู้ตัวได้เร็วกว่า มีอาการใดบ้างที่สามารถบ่งบอกได้

อาการของผู้ป่วยมะเร็งกล่องเสียง
อาการของผู้ป่วยมะเร็งกล่องเสียง
  • มีอาการเจ็บคอ เจ็บคอเรื้อรัง รักษาไม่หาย
  • ทานอาหารลำบาก โดยเฉพาะเวลากลืนอาหาร เพราะมีอาการติดคอ หรือดื่มน้ำก็จะมีอาการสำลักน้ำ
  • หายใจไม่ออก เหมือนมีอะไรติดขัดที่คอ
  • มีก้อนบวมที่บริเวณลำคอ เพราะเซลล์มะเร็งกำลังแพร่กระจายไปยังส่วนอื่นๆ
  • มีอาการไอแห้ง ไอมีเสมหะ หรือบางครั้งไอเป็นเลือด
  • น้ำหนักลดโดยไม่ทราบสาเหตุ

สาเหตุที่ทำให้เกิดมะเร็งกล่องเสียง

ผู้ป่วยที่เป็นมะเร็ง มักเกิดจากการใช้ชีวิต หรือพฤติกรรมต่างๆ ในชีวิตประจำวันของคนนั้นๆ หากทำอะไรที่เสี่ยง ก็มีเปอร์เซ็นต์สูงมาก ที่จะเป็นมะเร็งกล่องเสียง มาดูว่าความเสี่ยงใดบ้างที่ก่อให้เกิดโรคร้ายชนิดนี้

  • สูบบุหรี่จัดติดต่อกันมาเป็นเวลานานๆ
สูบบุหรี่จัดติดต่อกันมาเป็นเวลานานๆ
สูบบุหรี่จัดติดต่อกันมาเป็นเวลานานๆ

คนที่สูบบุหรี่ติดต่อกันนานหลายปี หรือสูบจัดๆ มีโอกาสที่จะเกิดมะเร็งกล่องเสียงมากกว่าคนที่ไม่สูบมากถึง 10 เท่า เพราะว่าในควันบุหรี่มีสารพิษมากมายเป็นร้อยชนิด ซึ่งสารพิษเหล่านั้นเอง ที่เป็นสาเหตุทำให้เยื้อในกล่องเสียงถูกทำลาย จนทำให้เซลล์กลายพันธุ์เป็นเซลล์มะเร็งในที่สุด สามารถเกิดได้แม้แต่คนอายุน้อย

  • ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์

การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ มีความเสี่ยงที่จะทำให้เกิดมะเร็งได้ไม่ต่างจากบุหรี่ เพราะว่าแอลกอฮอล์ที่เข้าสู่ร่างกาย ผ่านทางลำคอ จะเข้าไปทำลายเนื้อเยื้อในลำคอ จนเกิดความเสียหาย ทำให้เซลล์กลายพันธุ์หรือเปลี่ยนสภาพ จนพัฒนากลายเป็นเซลล์มะเร็งในที่สุด

  • เป็นโรคเกี่ยวกับลำคอมาก่อน
เป็นโรคเกี่ยวกับลำคอมาก่อน
เป็นโรคเกี่ยวกับลำคอมาก่อน

เช่นผู้ป่วยที่เป็นโรคหลอดลมอักเสบอยู่แล้ว หรือว่าเคยมีประวัติได้รับอุบัติเหตุเกี่ยวกับลำคอมาก่อน

  • เกิดจากสิ่งแวดล้อม
เกิดจากสิ่งแวดล้อม
เกิดจากสิ่งแวดล้อม

ปัญหาสิ่งแวดล้อม เช่น มลภาวะทางอากาศ ฝุ่นพิษ หรือสารพิษจากการทำงาน หากเราสูดสารพิษเหล่านั้นเข้าสู่ร่างกาย ก็มีความเสี่ยงทำให้เกิดมะเร็งกล่องเสียงได้เช่นกัน ไม่แตกต่างจากการสูบบุหรี่

  • เชื้อ HPV
เชื้อ HPV
เชื้อ HPV

เชื้อชนิดนี้เป็นเชื้อที่ติดต่อผ่านเลือด เช่น การใช้เข็มฉีดยาอันเดียวกัน การมีเพศสัมพันธ์กับคนที่มีเชื่อเอชพีวีแล้วไม่มีการป้องกัน เมื่อได้รับเชื้อชนิดนี้ ก็จำทำให้เซลล์เกิดความผิดปรก จนกลายเป็นมะเร็งได้ในที่สุด

วิธีการรักษามะเร็งกล่องเสียง

ผู้ป่วยที่ตรวจพบว่าเป็นมะเร็งกล่องเสียง และต้องเข้ารับการรักษา แพทย์จะประเมินจากอาการของโรคก่อน ว่ามะเร็งอยู่ในระยะเท่าไหร่ และมีขนาดของโรคว่าตอนนี้ก้อนเนื้อโตแค่ไหน จากนั้นถึงจะเลือกวิธีการในการรักษา อาจเลือกวิธีใดวิธีหนึ่ง หรืออาจใช้การรักษาควบคู่กันก็ได้ วิธีการรักษามีดังนี้คือ

  • รักษาด้วยการผ่าตัด
รักษาด้วยการผ่าตัด 2
รักษาด้วยการผ่าตัด 2

เป็นการผ่าตัดเพื่อเอาก้อนเนื้อออก เพื่อเป็นการป้องกันไม่ให้มะเร็งลุกลามไปยังอวัยวะส่วนอื่นของร่างกาย บางรายอาจหายขาดได้ หลังจากที่เข้ารับการผ่าตัด

  • รักษาด้วยการฉายรังสี
รักษาด้วยการฉายรังสี
รักษาด้วยการฉายรังสี

เป็นวิธีการฉายรังสีเพื่อเข้าไปทำลายเซลล์มะเร็ง วิธีนี้จะเหมาะกับผู้ป่วยที่มีก้อนเนื้อไม่ใหญ่มาก ยังอยู่ในระยะเริ่มต้น บางครั้งอาจต้องใช้ควบคู่กับการผ่าตัด เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่ดียิ่งขึ้น

  • การใช้ยาเคมีบำบัด
การใช้ยาเคมีบำบัด
การใช้ยาเคมีบำบัด

หรือการให้คีโม เป็นการใช้ยาเพื่อเข้าไปทำลายเซลล์มะเร็ง สามารถใช้ร่วมกับวิธีการผ่าตัด หรือการฉายรังสีก็ได้ ตามข้อวินิจฉัยของแพทย์ แต่หลังจากที่รักษาด้วยวิธีนี้แล้ว ผู้ป่วยอาจได้รับผลข้างเคียงตามมา เช่นมีอาการผมร่วง เป็นต้น

พฤติกรรมที่ช่วยลดความเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งกล่องเสียง

อย่างที่ได้บอกไปข้างต้น ว่ามะเร็งกล่องเสียง ส่วนใหญ่มีสาเหตุเกิดจากพฤติกรรมการใช้ชีวิตของแต่ละคน เพราะฉะนั้นหากเราสามารถเลี่ยงความเสี่ยงเหล่านี้ได้ ก็ลดโอกาสเกิดมะเร็งกล่องเสียงได้เช่นกัน มาดูว่ามีอะไรบ้างที่เราควรเลี่ยง

  • หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่ เพราะควันพิษจากบุหรี่ เป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดมะเร็งกล่องเสียงได้สูงที่สุดในบรรดาสาเหตุอื่นๆ
  • งดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เพราะเครื่องดื่มแอลกอฮอล์จะเข้าไปทำลายเนื้อเยื้อ เมื่อเลี่ยงเครื่องดื่มประเภทนี้ได้ ก็ลดโอกาสเกิดมะเร็งได้เช่นกัน
  • รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ และมีความหลากหลาย โดยเฉพาะอาหารประเภทผัก ผลไม้ ซึ่งจะช่วยเพิ่มสารต้านอนุมูนอิสระให้กับร่างกาย ที่จะช่วยป้องกันการเกิดมะเร็ง
  • หลีกเลี่ยงพื้นที่ที่มีควัน มีฝุ่นพิษ เพราะว่าร่างกายของเราเมื่อได้รับสารพิษเหล่านี้จำนวนมาก การหลีกเลี่ยงพื้นที่เสียงเหล่านี้ได้ จะเป็นผลดีกับร่างกายของเราเอง
  • ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ เพื่อเป็นการสร้างภูมิคุ้มกันให้กับร่างกาย
  • หมั่นตรวจสุขภาพอย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้รู้ทันการเปลี่ยนแปลงของร่างกายของเราเอง หากมีอะไรผิดปรกติกับร่างกายของเรา ก็จะได้ทำการรักษาหรือแก้ไขได้ทันที

ผู้ป่วยที่เป็นมะเร็งกล่องเสียง ควรปฏิบัติตัวอย่างไร

สำหรับผู้ป่วยที่ตรวจพบว่าเป็นโรคมะเร็ง ควรเปลี่ยนพฤติกรรมของตัวเองทันที เช่น การงดสูบบุหรี่อย่างเด็ดขาด และเลิกดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ทุกชนิด เพื่อไม่ให้ร่างกายทรุดมากกว่าเดิม และพยายามเลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์กับร่างกายเท่านั้น ไม่ควรรับประทานอาหารประเภทปิ้งย่าง หรือของทอด ควรอยู่ในสภาพอากาศที่ดี ปราศจากฝุ่นควัน เพื่อให้อาการไม่แย่หนักกว่าเดิม และที่สำคัญ ควรหมั่นเข้ารับการตรวจโรค และเข้าพบแพทย์ตามนัด เพื่อติดตามอาการว่าดีขึ้นหรือแย่ลงอย่างไร เพื่อจะได้ทำการรักษาในขั้นต่อไปได้

สรุปส่งท้าย

เมื่อเรารู้ว่ามะเร็งกล่องเสียงอันตรายขนาดนี้ ก็ควรหลีกเลี่ยงพฤติกรรมเสี่ยงที่กล่าวไปข้างต้นเลยจะดีที่สุด และควรหมั่นเข้ารับการตรวจสุขภาพประจำปีทุกปี เพื่อติดตามการเปลี่ยนแปลงของสุขภาพของตัวเอง หากรู้สึกว่ามีอะไรที่ผิดปรกติกับร่างกายของเรา ก็ควรพบแพทย์ในทันที ยิ่งตรวจเจอได้เร็วเท่าไหร่ ก็หายได้เร็วเท่านั้น


คำถามที่เกี่ยวกับมะเร็งกล่องเสียง

มะเร็งกล่องเสียงรักษาให้หายขาดได้หรือไม่?

สามารถรักษาให้หายขาดได้ เมื่อแพทย์ตรวจพบเชื้อมะเร็งตั้งแต่ระยะแรก และทำการรักษาในทันที ผู้ป่วยก็มีสิทธิ์หายขาดได้เลย และกลับมาพูดได้เหมือนกับคนปรกติ อีกทั้งยังง่ายต่อการรักษาด้วย

ผู้ป่วยที่เข้ารับการผ่าตัดมะเร็งกล่องเสียงแล้ว สามารถพูดคุยได้หรือไม่?

หากผู้ป่วยยังอยู่ในระยะเริ่มต้น หลังจากผ่าตัดแล้ว ก็กลับมาพูดได้ปรกติ แต่เสียงอาจจะเปลี่ยนเล็กน้อย แต่หากเป็นมะเร็งระยะที่ 3 หรือ 4 ซึ่งเป็นระยะที่รุนแรงแล้ว แพทย์ต้องทำการผ่าตัดเอากล่องเสียงออก เพราะฉะนั้นผู้ป่วยจะไม่สามารถปรกติ แต่ต้องพูดผ่านอุปกรณ์เสริม

การรักษามะเร็งกล่องเสียงมีผลข้างเคียงหรือไม่?

ผลข้างเคียงที่เกิดขึ้น แต่ละคนอาจจะมากน้อยไม่เท่ากัน แต่ส่วนใหญ่แล้วอาการจะคล้ายกัน โดยเฉพาะการรักษาด้วยการใช้เคมีบำบัด หรือคีโม อาการที่พบคือ อาเจียน ผมร่วง เป็นต้น


แชร์เรื่องนี้