9 สาเหตุของมะเร็งท่อน้ำดี โรคร้ายที่มาโดยไม่ทันรู้ตัว

9 สาเหตุของมะเร็งท่อน้ำดี โรคร้ายที่มาโดยไม่ทันรู้ตัว

แชร์เรื่องนี้

มะเร็งท่อน้ำดี เป็นโรคที่หลายคนไม่ค่อยให้ความสนใจเท่าไหร่ อีกอย่างท่อน้ำดี ก็เป็นอวัยวะที่คนปล่อยปละละเลย ไม่ดูแลให้ดี มารู้ตัวอีกทีก็กลายเป็นมะเร็งเสียแล้ว ฉะนั้นรีบดูแลเสียตั้งแต่ตอนนี้ดีกว่า

มะเร็งท่อน้ำดี คืออะไร

มะเร็งท่อน้ำดี คือมะเร็งที่เกิดขึ้นกับท่อน้ำดี มาจากความผิดปรกติของเซลล์เยื่อบุท่อทางเดินของท่อน้ำดี เมื่อเซลล์เนื้อเยื่อเกิดความผิดปกติ ก็จะมีการพัฒนาและเปลี่ยนแปลงไปเป็นเซลล์มะเร็งในที่สุด ก้อนมะเร็งเหล่านี้ ก็จะเข้าไปอุดตันทางเดินของท่อน้ำดี ทำให้ร่างกายเกิดความผิดปกติขึ้น จากนั้นจะแสดงออกมาในรูปแบบของอาการต่างๆ ถ้าคนไม่รู้จักโรคชนิดนี้ ก็จะไม่ทันระวังตัว ทำให้การรักษาโรคยากขึ้นเท่านั้น แต่ถ้ารักษาตั้งแต่เนิ่นๆ ก็มีโอกาสที่จะหายขาดได้เลย

อาการของมะเร็งท่อน้ำดี

มะเร็งท่อน้ำดี ในระยะแรกๆ จะยังไม่มีอาการใดๆ แสดงออกมาให้เห็นได้อย่างชัดเจน ทำให้ผู้ป่วยชะล่าใจ จะเริ่มแสดงก็ในช่วงที่มะเร็งมีการลุกลามแล้ว และยิ่งถ้าอยู่ในช่วงที่ลุกลาม อาการของโรคก็จะยากต่อการรักษามากขึ้นเท่านั้น ซึ่งอาการที่จะปรากฏออกมาให้เห็นได้แก่

อาการของมะเร็งท่อน้ำดี
อาการของมะเร็งท่อน้ำดี
  • ท้องบวม ท้องอืดผิดปกติ
  • รู้สึกคันตามผิวหนัง โดยเฉพาะในเวลากลางคืน
  • มีอาการปวดตามท้อง โดยเฉพาะท้องด้านขวา เนื่องจากมีก้อนเนื้อเกิดขึ้นในช่องท้อง
  • อาเจียนบ่อย
  • ปัสสาวะมีสีเข้มขึ้น
  • อุจจาระเป็นสีอ่อน
  • มีอาการตัวเหลือง ตาเหลืองอย่างเห็นได้ชัด
  • เป็นไข้

สาเหตุของมะเร็งท่อน้ำดี

เพราะมะเร็งท่อน้ำดีเกิดขึ้นจากความผิดปกติของเซลล์ในท่อน้ำดี ซึ่งสาเหตุเหล่านี้ ส่วนหนึ่งมาจากพฤติกรรมการใช้ชีวิตของเราเอง ที่ทำให้เสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งท่อน้ำดีขึ้น มีอะไรบ้าง เพื่อที่ต่อไปจะได้ระวังตัวเองให้มากขึ้น ไม่เผลอไปทำพฤติกรรมเสี่ยงเหล่านี้อีก

1.น้ำหนักเกินมาตรฐาน โรคอ้วน

น้ำหนักเกินมาตรฐาน โรคอ้วน
น้ำหนักเกินมาตรฐาน โรคอ้วน

คนที่เป็นโรคอ้วน น้ำหนักเกิน จะเสี่ยงมากกว่าคนที่หุ่นปกติ

2.เป็นนิ่วในถุงน้ำดี

เป็นนิ่วในถุงน้ำดี
เป็นนิ่วในถุงน้ำดี

ผู้ป่วยที่เป็นนิ่วในถุงน้ำดีอยู่แล้ว มีโอกาสที่จะเป็นมะเร็งท่อน้ำดีได้มากกว่าคนปกติ และกว่า 20 เปอร์เซ็นต์ของผู้ป่วยมะเร็งท่อน้ำดี ส่วนใหญ่มีปัญหาเรื่องนิ่วในถุงน้ำดีมาก่อน

3.ท่อน้ำดีผิดปกติ

ท่อน้ำดีผิดปกติ
ท่อน้ำดีผิดปกติ

หรือรูปร่างของท่อน้ำดีไม่ปกติ อาจจะเกิดจากท่อน้ำดีขยายตัว เกิดจากซีสต์ในท่อน้ำดี ซึ่งสาเหตุเหล่านี้ทำให้เกิดมะเร็งท่อน้ำดีได้ เพราะจะทำให้เยื่อในท่อน้ำดีมีการเปลี่ยนแปลง

4.พยาธิใบไม้ในตับ

พยาธิใบไม้ในตับ
พยาธิใบไม้ในตับ

ผู้ป่วยที่เป็นโรคพยาธิใบไม้ในตับ เช่น คนที่ทานเนื้อปลาสดๆ เนื้อสดๆ จะมีโอกาสเกิดโรคพยาธิใบไม้ในตับสูงกว่าคนทั่วไป และโรคนี้จะทำให้เสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งท่อน้ำดีได้ด้วย เพราะจะไปทำให้ท่อน้ำดีติดเชื้อ  ดังนั้นเพียงแค่การทานของดิบ ก็เป็นต้นตอนำไปสู่มะเร็งท่อน้ำดีได้เลย

5.ท่อน้ำดีอักเสบ

ท่อน้ำดีอักเสบ
ท่อน้ำดีอักเสบ

ผู้ป่วยที่มีปัญหาท่อน้ำดีอักเสบ หรือมีประวัติการรักษามาอย่างต่อเนื่อง มีโอกาสเกิดมะเร็งท่อน้ำดีได้มากกว่าคนทั่วไป

6.คนที่สูบบุหรี่จัด

คนที่สูบบุหรี่จัด
คนที่สูบบุหรี่จัด

ทำให้ท่อน้ำดีมีความผิดปกติ และเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งท่อน้ำดี

7.คนที่สูงอายุ

คนที่สูงอายุ
คนที่สูงอายุ

ส่วนใหญ่แล้วผู้ป่วยที่เป็นมะเร็งท่อน้ำดี มักมีอายุตั้งแต่ 40 ปีขึ้นไป

8.ส่งต่อทางกรรมพันธุ์

ส่งต่อทางกรรมพันธุ์
ส่งต่อทางกรรมพันธุ์

ถ้าในครอบครัวเคยมีประวัติเป็นมะเร็งท่อน้ำดี รุ่นต่อไปก็มีโอกาสที่จะเป็นโรคนี้ได้เช่นกัน

9.อยู่ในสภาพแวดล้อมที่เสี่ยง

ฝุ่นพิษ
ฝุ่นพิษ

เช่นพื้นที่ที่มีสารพิษเยอะ มีสารเคมี หรือว่ามีฝุ่นพิษเป็นจำนวนมาก

ระยะของมะเร็งถุงน้ำดี

ผู้ป่วยมะเร็งท่อน้ำดี แบ่งออกได้เป็น 4 ระยะ ดังนี้คือ

ระยะที่ 1 มะเร็งยังรวมตัวอยู่ในเฉพาะถุงน้ำดีหรือท่อน้ำดี ยังไม่มีการกระจายไปยังอวัยวะส่วนอื่น

ระยะที่ 2 มะเร็งเริ่มมีการลุกลามจากถุงน้ำดีชั้นใน ออกมาชั้นนอก แต่ยังไม่ลุกลามไปยังอวัยส่วนอื่นๆ

ระยะที่ 3 มะเร็งเริ่มมีการลุกลามไปยังอวัยวะที่อยู่ใกล้เคียง เช่น ตับ ไต ลำไส้ และระบบต่อมน้ำเหลือง

ระยะที่ 4 มะเร็งเริ่มลุกลามไปยังอวัยวะส่วนอื่น เป็นระยะที่อันตรายที่สุด และจะมีก้อนเนื้อขนาดใหญ่เกิดขึ้น

วิธีการรักษามะเร็งถุงน้ำดี

การรักษามะเร็งท่อน้ำดี แพทย์จะวินิจฉัยตามระยะของโรคมะเร็งของผู้ป่วยแต่ละราย และประเมินว่าควรรักษาด้วยวิธีใด บางรายอาจใช้วิธีการรักษาวิธีเดียว บางรายอาจต้องใช้วิธีการรักษาควบคู่กันไป สำหรับวิธีการรักษาในปัจจุบันได้แก่

  • การผ่าตัด
การผ่าตัด
การผ่าตัด

เป็นการผ่าตัดเพื่อเอาก้อนมะเร็งออกจากท่อน้ำดี เพื่อเป็นการป้องกันไม่ให้มะเร็งมีการลุกลามไปต่อได้อีก วิธีนี้ส่วนใหญ่จะใช้กับผู้ป่วยมะเร็งระยะที่ 1

  • การฉายรังสี
การฉายรังสี
การฉายรังสี

เป็นการฉายรังสีเข้าไปเพื่อทำลายเซลล์มะเร็ง หรือผู้ป่วยที่ไม่สามารถผ่าตัดได้ ก็จะใช้การฉายรังสีในการรักษาแทน

  • การใช้เคมีบำบัด
การใช้เคมีบำบัด
การใช้เคมีบำบัด

เป็นการฉีดยาเข้าไปเพื่อทำลายเซลล์มะเร็ง ป้องกันไม่ให้มะเร็งลุกลามไปยังอวัยวะส่วนอื่น นิยมใช้กับผู้ป่วยที่เป็นมะเร็งท่อน้ำดีในระยะรุนแรง เป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพ แต่ผู้ป่วยจะมีอาการข้างเคียงจากการรักษาด้วยวิธีนี้อยู่บ้างเช่นกัน

  • การรักษาแบบเจาะจง
การรักษาแบบเจาะจง
การรักษาแบบเจาะจง

เป็นการใช้ยาเฉพาะจุด เพื่อเข้าไปทำลายเซลล์มะเร็งในท่อน้ำดีโดยตรง

ป้องกันมะเร็งถุงน้ำดีอย่างไร

สิ่งหนึ่งที่จะช่วยให้เราห่างไกลจากมะเร็งท่อน้ำดีได้นั้น ก็คือการหาทางป้องกันเอาไว้ก่อน วิธีการป้องกันมีอะไรบ้าง

  • รับประทานอาหารที่มีประโยชน์กับร่างกาย โดยเน้นที่สารอาหารเป็นหลัก มากกว่าความอร่อยถูกปาก
  • หลีกเลี่ยงอาหารที่มีน้ำตาล หรืออาหารที่มีไขมันเยอะ ซึ่งจะเสี่ยงทำให้เกิดโรคอ้วนได้
  • ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้ร่างกายอยู่ในภาวะที่สมดุล และมีภูมิต้านทานโรค อีกทั้งยังป้องกันไม่ให้มีน้ำหนักตัวที่สูงเกินไป
  • งดสูบบุหรี่ เพราะการสูบบุหรี่ ก็เป็นสาเหตุของการเกิดโรคได้เช่นกัน ฉะนั้นควรงดหรือเลิกสูบเด็ดขาดไปเลย
  • อยู่ในสภาพแวดล้อมที่ดี หรือออกจากสิ่งแวดล้อมที่มีมลภาวะ ที่จะทำให้เสี่ยงต่อการเกิดโรค

การตรวจคัดกรองมะเร็งถุงน้ำดี

เพราะมะเร็งท่อน้ำดี ไม่แสดงอาการออกมาให้เห็นได้อย่างชัดเจนในระยะแรกๆ ดังนั้นเราต้องป้องกันด้วยการตรวจคัดกรอง วิธีการตรวจในปัจจุบันได้แก่

  • การตรวจเลือด เป็นการตรวจเพื่อดูความผิดปกติของเลือด และดูค่าการทำงานของตับ ว่ามีความผิดปกติใดๆ หรือไม่
  • การตรวจอัลตราซาวนด์ เป็นการตรวจด้วยการดูค่าการทำงานของถุงนำดี เพื่อวินิจฉัยมะเร็งท่อน้ำดี และโอกาสในการลุกลามของโรค ความเร็วในการลุกลาม เพื่อประเมินแนวทางในการรักษา
  • การตรวจด้วย CT SCAN เป็นการถ่ายภาพของจุดที่สงสัยว่าเป็นมะเร็งท่อน้ำดี เพื่อประเมินแนวทางในการรักษา และระยะความรุนแรงของโรคต่อไป
  • การตรวจด้วย MRI SCAN เป็นการตรวจในระดับเนื้อเยื้อโดยการถ่ายภาพ เพื่อตรวจหาเซลล์มะเร็งอย่างละเอียด
  • การส่องกล้อง เป็นการใช้กล้องขนาดเล็กสอดเข้าไป เพื่อดูความผิดปกติของร่างกาย หรือตัดตัวอย่างชิ้นเนื้อออกมาเพื่อตรวจอย่างละเอียดในห้องปฏิบัติการอีกครั้ง

สรุปส่งท้าย

มะเร็งท่อน้ำดี เป็นโรคที่เราจะชะล่าใจไม่ได้ การหมั่นรักษาตัวเองและหาวิธีการป้องกันตั้งแต่เนิ่นๆ เป็นวิธีที่ดีที่สุด ในการป้องกันโรค ดีกว่ามาหาทางรักษาโรคในภายหลัง

คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับมะเร็งถุงน้ำดี

มะเร็งท่อน้ำดีรักษาให้หายได้หรือไม่?

รักษาให้หายได้ หากตรวจพบตั้งแต่ในระยะเริ่มต้นหรือระยะที่ 1 การรักษาด้วยการผ่าตัด ผู้ป่วยมีโอกาสที่จะหายขาดได้ทันทีหลังจากที่ทำการรักษา

เมื่อใครควรเข้ารับการตรวจคัดกรองมะเร็งท่อน้ำดี?

การตรวจคัดกรอง ควรเข้ารับการตรวจอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง โดยเฉพาะผู้ที่อายุตั้งแต่ 40 ปีขึ้นไป จะมีความเสี่ยงมากกว่าคนที่อายุน้อย และคนที่มีอาการผิดปกติของร่างกายที่ได้กล่าวไปข้างต้น เมื่อมีอาการเหล่านี้ ก็ควรเข้ารับการตรวจคัดกรองทันที เพื่อให้แพทย์วินิจฉัยโรคอย่างละเอียดต่อไป

มะเร็งท่อน้ำดีอันตรายมากแค่ไหน?

ความอันตรายของโรคนี้ก็คือ จะไม่มีอาการแจ้งเตือนของโรคตั้งแต่เริ่มต้น เราต้องตรวจร่างกายอย่างละเอียดเท่านั้น ถึงจะรู้ทันโรคนี้ได้ และหากไม่สนใจ หรือรักษาโรคไม่ทัน ผู้ป่วยก็มีโอกาสเสียชีวิตได้เลย ฉะนั้นการตรวจคัดกรอง จึงมีความสำคัญมาก เพราะเป็นวิธีที่จะทำให้เรารู้ทันโรคมะเร็งท่อน้ำดีได้ดีที่สุด


แชร์เรื่องนี้