8 อาการเตือน มะเร็งลำไส้ใหญ่ ภัยร้ายที่ต้องป้องกันล่วงหน้า

8 อาการเตือน มะเร็งลำไส้ใหญ่ ภัยร้ายที่ต้องป้องกันล่วงหน้า

แชร์เรื่องนี้

มะเร็งลำไส้ใหญ่ เป็นมะเร็งที่มีอัตราการเสียชีวิตเป็นอันดับต้นๆ ในบรรดาโรคมะเร็งทั้งหมด เป็นโรคที่เกิดจากพฤติกรรมการกินของเรา แต่โรคนี้ป้องกันได้ หากเรารู้จักวิธีการป้องกันที่ถูกต้อง

มะเร็งลำไส้ใหญ่ คืออะไร

มะเร็งลำไส้ใหญ่ เป็นมะเร็งที่เกิดจากความผิดปรกติของลำไส้ใหญ่ เนื่องจากเซลล์ที่มีความผิดปรกติ ทำให้พัฒนาจนกลายเป็นเซลล์มะเร็งในที่สุด ส่วนใหญ่จะพบตรงบริเวณส่วนปลายของลำไส้ใหญ่ แบ่งเป็นช่วงลำไส้ใหญ่ช่วงแรก และลำไส้ใหญ่ช่วงท้าย ปัจจุบันยังไม่สามารถระบุสาเหตุที่ชัดเจนลงไปได้ว่า มะเร็งลำไส้ใหญ่เกิดจากอะไรกันแน่ แต่จากการวินิจฉัย ส่วนใหญ่บอกไปในทิศทางเดียวกันก็คือ เกิดจากพฤติกรรมของผู้ป่วยเอง และสภาพแวดล้อมที่อาศัยอยู่

8 อาการของเตือนของมะเร็งลำไส้ใหญ่

ผู้ป่วยที่เป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่ สามารถสังเกตอาการของตัวเองได้ ซึ่งจะแสดงออกมาให้เห็นได้ชัดเจนพอสมควร เพราะฉะนั้นหากมีอาการลักษณะนี้เกิดขึ้นกับเรา ควรพบแพทย์โดยด่วน เพื่อตรวจวินิจฉัยอย่างละเอียด และหาทางรักษาต่อไป ยิ่งตรวจพบเร็วเท่าไหร่ ยิ่งส่งผลดีต่อการรักษาเท่านั้น อาการที่พบได้บ่อยก็คือ

  • อุจจาระเป็นเลือด หรือเป็นมูก

เกิดจากความผิดปรกติของลำไส้ใหญ่ เนื่องจากบางครั้งอุจจาระที่แข็งเกินไป ทำให้ไปขูดกับผนังลำไส้ใหญ่ จนทำให้กลายเป็นแผล จึงทำให้มีเลือดปนออกมากับอุจจาระ

  • มีอาการท้องผูกบ่อย
มีอาการท้องผูกบ่อย
มีอาการท้องผูกบ่อย

หากเมื่อไหร่ที่รู้สึกว่าตัวเรามีอาการท้องผูกบ่อย ให้สันนิษฐานเอาไว้เลยว่า เรามีความเสี่ยงเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่ เหตุหลักที่ทำให้มีอาการท้องผูก ก็มาจากพฤติกรรมการรับประทานอาหารของเรานั่นเอง ถ้าหากปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเหล่านี้ได้ อาการท้องผูกก็หายไปได้เช่นกัน

  • อุจจาระมีขนาดที่ลีบเล็ก

เนื่องจากลำไส้ใหญ่มีความผิดปรกติ ซึ่งเกิดจากติ่งเนื้อที่เข้ามาเบียดในลำไส้ เวลาที่อุจจาระเคลื่อนผ่านบริเวณนี้ จะถูกบีบให้มีขนาดเล็กลง

  • น้ำหนักลดลงโดยไม่ทราบสาเหตุ
น้ำหนักลดลงโดยไม่ทราบสาเหตุ
น้ำหนักลดลงโดยไม่ทราบสาเหตุ

ทั้งที่มีการรับประทานอาหารทุกอย่างปรกติ แต่น้ำหนักกลับลดลงๆ อย่างผิดสังเกต

  • มีอาการท้องเสียบ่อย
มีอาการท้องเสียบ่อย
มีอาการท้องเสียบ่อย

อาการท้องเสียและท้องผูกในคนที่เป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่ เกิดจากการทำงานลำไส้ที่ผิดปรกติ บางครั้งไม่ได้เกิดจากการรับประทานอาหารอย่างเดียว สามารถเกิดจากการทำงานของลำไส้ที่ผิดปรกติได้ด้วย

  • มีอาการอ่อนเพลีย
มีอาการอ่อนเพลีย
มีอาการอ่อนเพลีย

เนื่องจากมีการเสียเลือดที่ปนมากับอุจจาระ จากการขับถ่าย ทำให้ร่างกายรู้สึกอ่อนเพลียลง บางครั้งอาจทำให้รู้สึกหน้ามืดได้

  • มีอาการท้องอืดบ่อย
มีอาการท้องอืดบ่อย
มีอาการท้องอืดบ่อย

เกิดจากลำไส้ที่อุดตัน ไม่สามารถทำงานได้อย่างปรกติ

  • คลำเจอก้อนบริเวณท้อง

หากมะเร็งมีขนาดที่ใหญ่ขึ้น สามารถคลำพบก้อนที่ท้องได้

สาเหตุที่ทำให้เกิดมะเร็งลำไส้ใหญ่

มะเร็งลำไส้ใหญ่ สาเหตุหลักที่พบเจอบ่อยที่สุด มักเกิดจากพฤติกรรมการใช้ชีวิต และพฤติกรรมการรับประทานอาการของผู้ป่วยเอง สาเหตุที่ทำให้เสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งลำไส้ใหญ่ได้มากที่สุดได้แก่

  • รับประทานอาหารที่มีไขมันสูง ประเภทเนื้อสัตว์ เนื้อแดง และอาการที่ผ่านกระบวนการแปรรูปหลายๆ ขั้นตอน เช่นของทอด อาหารที่มันเยอะๆ
ของทอด อาหารที่มันเยอะๆ
ของทอด อาหารที่มันเยอะๆ
  • ไม่ทานผัก ผลไม้ ซึ่งผักผลไม้ จะมีกากใยสูง ที่ช่วยในเรื่องของการขับถ่าย
ไม่ทานผัก ผลไม้
ไม่ทานผัก ผลไม้
  • การสูบบุหรี่ จากงานวิจัยพบว่า ผู้ป่วยที่เสียชีวิตจากมะเร็งลำไส้ใหญ่ ส่วนใหญ่เป็นผู้ที่มีประวัติการสูบบุหรี่ด้วย
การสูบบุหรี่
การสูบบุหรี่
  • ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เป็นการเพิ่มความเสี่ยงให้กับลำไส้มากขึ้น เพราะในแอลกอฮอล์ จะมีสารชนิดหนึ่งซึ่งเป็นสารก่อมะเร็ง ยิ่งถ้าสูบบุหรี่ด้วย และดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ไปด้วย ก็จะยิ่งเป็นการเพิ่มความเสี่ยงให้มากขึ้นเท่านั้น
ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
  • คนที่เป็นโรคอ้วน หรือคนที่ไม่ออกกำลังกาย มีความเสี่ยงสูงที่จะเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่
คนที่เป็นโรคอ้วน
คนที่เป็นโรคอ้วน
  • เคยเป็นโรคที่เกี่ยวกับลำไส้มาก่อน เช่น เคยมีประวัติการรักษาติ่งเนื้อในลำไส้ ในอนาคตก็อาจเกิดมะเร็งลำไส้ใหญ่ได้เช่นกัน
  • อายุที่มากขึ้น ส่วนใหญ่ผู้ป่วยที่เป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่ จะมีอายุตั้งแต่ 40 ปีขึ้นไป
  • คนในครอบครัวเคยมีประวัติเป็นมะเร็งมาก่อน รุ่นลูกหลาน ก็มีความเสี่ยงที่จะเป็นได้เช่นกัน เป็นการส่งต่อเชื้อทางพันธุกรรม
การรักษามะเร็งลำไส้ใหญ่

มะเร็งลำไส้ใหญ่ หากมีการตรวจและรักษาตั้งแต่เนิ่นๆ ก็สามารถหายขาดกลับมาเป็นปรกติได้เช่นกัน และวิธีการรักษาในปัจจุบันก็มีความทันสมัยมากขึ้น วิธีการรักษาที่ใช้ในปัจจุบันได้แก่

  • การใช้ยารักษา

หากผู้ป่วยเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่ตรงลำไส้ช่วงแรก แพทย์จะใช้ยาเคมีในการบำบัด ซึ่งยาที่ใช้ในปัจจุบันมีประสิทธิภาพที่สูงมาก และยังช่วยป้องกันไม่ให้กลับมาเป็นอีกครั้งด้วย

  • การผ่าตัด

หากผู้ป่วยเป็นมะเร็งลำไส้ตรงลำไส้ส่วนปลาย แพทย์จะใช้การผ่าตัด อาจมีการให้ยาเคมีบำบัดร่วมด้วย หรือฉายรังสีร่วมด้วย ขึ้นอยู่กับอาการความรุนแรงของผู้ป่วย และความแข็งแรงของตัวผู้ป่วย หากอาการยังอยู่ในระยะเริ่มต้น ก็สามารถหายขาดได้ทันทีหลังจากที่เข้ารับการผ่าตัด

แนวทางในการป้องกันมะเร็งลำไส้ใหญ่

อย่างที่ทราบกันว่ามะเร็งลำไส้ใหญ่ มีความเสี่ยงทำให้เสียชีวิตได้ หากไม่ได้รับการรักษา ทางที่ดีที่สุดก็คือ ต้องหาวิธีป้องกันเอาไว้ก่อน วิธีการป้องกันที่ดีที่สุดได้แก่

  • หลีกเลี่ยงการทานอาหารที่มีไขมันสูง อาหารแปรรูป เนื้อสัตว์ เนื้อแดง
  • หลีกเลี่ยงอาการประเภทปิ้งย่าง หรืออาหารทอด ที่มีไขมันสูง
  • รับประทานผัก ผลไม้ให้หลากหลาย เพื่อเพิ่มกากใยให้กับลำไส้
  • หลีกเลี่ยงการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ทุกชนิด
  • งดสูบบุหรี่
  • ขับถ่ายให้เป็นนิสัยให้ได้ทุกวัน
  • ไม่ควรอั้นอุจจาระเป็นเวลานานๆ เพราะเสี่ยงทำให้เกิดท้องผูก และเสี่ยงทำให้บาดเจ็บหรือมีเลือดขณะขับถ่ายได้ บางรายอาจถึงขั้นติดเชื้อได้เลย
  • ตรวจสุขภาพประจำปี

ความสำคัญของการตรวจคัดกรองมะเร็งลำไส้ใหญ่

บางครั้งการตรวจสุขภาพประจำปี อาจไม่เพียงพอที่จะทำให้เราทราบเกี่ยวกับความผิดปรกติของลำไส้ได้ ดังนั้นการตรวจคัดกรองมะเร็งลำไส้ใหญ่ จึงเป็นวิธีที่ดีกว่า เพราะเห็นผลอย่างชัดเจน และมีความละเอียด สามารถรับมือได้ทัน วิธีการตรวจคัดกรองในปัจจุบันมีหลายแบบได้แก่

  • การตรวจหาเลือดที่ปนมากับอุจจาระ เป็นการนำอุจจาระไปเข้าห้องปฏิบัติการ เพื่อตรวจดูเลือดที่ปนมากับอุจจาระ ว่ามีความผิดปรกติหรือไม่ แนะนำให้ตรวจเป็นประจำทุกปี
  • ตรวจหาความผิดปรกติของ DNA โดยนำอุจจาระไปตรวจหาความผิดปรกติของยีนของคนไข้
  • การส่องกล้อง เพื่อตรวจหาความผิดปกติของลำไส้ สามารถตรวจได้ทั้งลำไส้ตรง และลำไส้ส่วนปลาย เพื่อดูการเปลี่ยนแปลงและความผิดปรกติอื่นๆ แนะนำว่าควรตรวจทุก 3 ปี
  • การตรวจการเอกซเรย์ เพื่อดูความผิดปกติของลำไส้ ว่ามีติ่งเนื้อ มีแผล ในลำไส้หรือไม่
  • การตรวจด้วยการส่องกล้อง ด้วยการสอดกล้องเข้าไปในลำไส้ เพื่อตรวจดูความผิดปรกติของลำไส้ แพทย์จะสามารถทราบได้ทันที ถึงความผิดปรกติ หากมีความผิดปรกติ แพทย์สามารถตัดชิ้นเนื้อไปส่งตรวจอย่างละเอียดต่อไปได้ทันที

วิธีปฏิบัติเมื่อเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่

ทันทีที่รู้ว่าเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่ สิ่งที่ผู้ป่วยควรทำเลยก็คือ การเปลี่ยนพฤติกรรมใหม่ ได้แก่ พฤติกรรมการกินอาการ การดื่ม ควรหลีกเลี่ยงอาหารที่มีความเสี่ยงทุกชนิด โดยเฉพาะอาหารที่มีไขมันสูง อาหารแปรรูปต่างๆ และเปลี่ยนมาเป็นการทานอาหารที่มีกากใยสูง เน้นเป็นอาหารที่ปรุงเองจะดีที่สุด หมั่นออกกำลังกายตามความเหมาะสม ไม่จำเป็นต้องหักโหม และหลีกเลี่ยงความเครียดต่างๆ จะทำให้อาการดีขึ้นได้เร็วกว่าเดิม

สรุปส่งท้าย

มะเร็งลำไส้ใหญ่ หากเรารู้แนวทางป้องกัน และเปลี่ยนพฤติกรรมตั้งแต่เนิ่นๆ เราก็สามารถห่างไกลจากโรคนี้ได้ หรือผู้ที่มีพฤติกรรมเสี่ยงอยู่ แต่ยังไม่เป็น ก็ควรเปลี่ยนพฤติกรรมใหม่ตั้งแต่ตอนนี้เลย จะดีที่สุด

คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับมะเร็งลำไส้ใหญ่

มะเร็งลำไส้ใหญ่สามารถรักษาหายได้หรือไม่?

สามารถรักษาให้หายได้ ยิ่งมีการตรวจพบเร็วเท่าไหร่ การรักษาก็ง่ายขึ้นเท่านั้น และใช้เวลาน้อยด้วย

ใครบ้างที่ควรเข้ารับการตรวจคัดกรองมะเร็งลำไส้ใหญ่?

ผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 40 ปีขึ้นไป,ผู้ที่มีอาการท้องผูกบ่อย มีการถ่ายเป็นเลือด ควรเข้ารับการตรวจคัดกรองอย่างละเอียดจากแพทย์ เพื่อให้แพทย์วินิจฉัยโรค

วิธีป้องกันมะเร็งลำไส้ใหญ่ที่ดีที่สุด คืออะไร?

คือการเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิต และพฤติกรรมการกินให้เหมาะสม อย่างที่ได้แนะนำไปข้างต้น ก็ช่วยให้เราห่างไกลจากมะเร็งลำไส้ใหญ่ได้เช่นกัน


แชร์เรื่องนี้