5 อาหารป้องกันโรคหลอดเลือดหัวใจ ช่วยบำรุงหัวใจและหลอดเลือด

5 อาหารป้องกันโรคหลอดเลือดหัวใจ ช่วยบำรุงหัวใจและหลอดเลือด

แชร์เรื่องนี้

อาหารป้องกันโรคหลอดเลือดหัวใจ เป็นสิ่งสำคัญที่เราทุกคนไม่ควรมองข้าม เพราะโรคนี้อันตรายถึงชีวิตได้ การป้องกันตัวเองด้วยการเปลี่ยนพฤติกรรมการรับประทานอาหาร จะช่วยลดความเสี่ยงได้ดีที่สุด

อาหารที่ช่วยป้องกันโรคหลอดเลือดหัวใจ ที่ควรรับประทาน

1.กระเทียม

กระเทียม

เป็นสมุนไพรและเป็นเครื่องปรุงแทบที่อยู่ในอาหารเกือบทุกชนิดของคนไทย ประโยชน์ของการทานกระเทียมก็คือ ช่วยลดระดับคอเลสเตอรอลในร่างกายได้ ช่วยกำจัดไขมันที่เกาะอยู่ตามผนังหลอดเลือด ทำให้เลือดไหลเวียนได้สะดวก ทำให้ช่วยป้องกันโรคหัวใจและหลอดเลือดได้

2.ปลาแซลม่อน

ปลาแซลม่อน

ในปลาแซลม่อนจะมีกรดชนิดหนึ่งที่เรียกว่า Eicosapentaenoic Acid และมี DHA ซึ่งเป็นตัวช่วยทำให้หลอดเลือดมีความแข็งแรง ลดความเสี่ยงของการเกิดโรคหัวใจ และป้องกันหัวใจวาย และที่สำคัญยังมีโอเมก้า 3 ในปริมาณที่สูงด้วย ซึ่งช่วยในการบำรุงสมองและกระตุ้นความจำให้ดีขึ้น

3.ถั่วและธัญพืช

ถั่วและธัญพืช

ในถั่วและธัญพืช ถือว่าเป็นแหล่งรวมสารอาหารที่มีประโยชน์หลายอย่าง ไม่ว่าจะเป็น วิตามินอี มีไขมันชนิดดี และมีไฟเบอร์สูง ช่วยลดระดับคอเลสเตอรอลในร่างกาย ลดโอกาสเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด นอกจากนี้ยังมีไฟเบอร์สูง ช่วยป้องกันอาการท้องผูกได้อีกด้วย ฉะนั้นควรรับประทานถั่วและธัญพืชต่างๆ เป็นประจำ เช่น ถั่ววอลนัท ถั่วลิสง ข้าวกล้อง ข้าวไรซ์เบอรี่ เมล็ดอัลมอนด์ เมล็ดฟักทอง เป็นต้น

4.น้ำมันมะกอก

น้ำมันมะกอก

ในน้ำมันมะกอกจะมีกรดไขมันดี และมีวิตามินอี ซึ่งทั้งสองตัวนี้จะเป็นสารต้านแอนตี้ออกซิแดนซ์ มีหน้าที่สำคัญในการป้องกันโรคหลอดเลือดหัวใจ และป้องกันการเสื่อมของหลอดเลือด

5.แปะก๊วย

แปะก๊วย

เป็นสมุนไพรที่มีประโยชน์สูงอีกชนิดหนึ่ง มีสรรพคุณในด้านช่วยให้ระบบไหลเวียนเลือดสมบูรณ์ ป้องกันไขมันเกาะที่ผนังหลอดเลือดและหัวใจ ป้องกันไม่ให้เกล็ดเลือดแข็งตัว ลดความเสี่ยงของการเกิดโรคที่เกี่ยวกับหัวใจและหลอดเลือด นอกจากนี้แปะก๊วยยังขึ้นชื่อในเรื่องเป็นสมุนช่วยบำรุงสมองอีกด้วย ที่สามารถรับประทานได้ทุกวัน

อาหารที่ควรหลีกเลี่ยง ลดความเสี่ยงการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจ

เมื่อเรารู้จัก อาหารป้องกันโรคหลอดเลือดหัวใจ กันไปแล้ว ก็ต้องรู้ด้วยว่ามีอาหารชนิดใดบ้างที่ควรหลีกเลี่ยง เพราะหากยังทานอาหารแบบเดิมอยู่ โอกาสที่จะเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดก็ยังสูงเช่นเดิม ซึ่งอาหารที่ควรเลี่ยงได้แก่

อาหารที่ควรหลีกเลี่ยง
  • อาหารกึ่งสำเร็จรูปหรือขนมห่อ เพราะอาหารชนิดนี้จะมีเกลือ และแป้ง เช่น บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป ขนมทอดกรอบทั้งหลาย
  • อาหารที่ทอดบนน้ำมันพืช เช่น น้ำมันปาล์ม น้ำมันมะพร้าว เพราะในน้ำมันประเภทนี้มีไขมันอิ่มตัว ซึ่งทำให้เสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด
  • เลี่ยงอาหารที่มันจัด หรือเนื้อที่ติดมัน เช่น หมูสามชั้น เนื้อวัวที่ติดมัน เนื้อไก่ที่ติดหนัง เพราะมีคอเลสเตอรอลสูง
  • เลี่ยงอาหารที่มีไขมันทรานส์สูง ไขมันประเภทนี้จะอยู่ในขนมหวานต่างๆ เช่น เค้ก คุกกี้ โดนัท เนยเทียม  ครีมเทียม เป็นต้น
  • เลี่ยงเครื่องดื่มที่มีกาเฟอีนสูง เช่น น้ำอัดลม ชา กาแฟ
  • งดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์

ผู้ป่วยโรคหัวใจและหลอดเลือด ควรดูแลตัวเองอย่างไร

การดูแลตัวเองของผู้ป่วยโรคหัวใจและหลอดเลือด ต้องเปลี่ยนพฤติกรรมตัวเองหลายอย่าง ทั้งเรื่องอาหารการกิน และพฤติกรรมอื่นๆ ได้แก่

ผู้ป่วยโรคหัวใจและหลอดเลือด ควรดูแลตัวเองอย่างไร
  • เน้นรับประทานอาหารรสจืด พยายามไม่ปรุงอาหารให้มีรสจัด หรือรสชาติที่เค็มเกินไป เพราะมีความเสี่ยงกับผู้ป่วยที่เป็นโรคหัวใจและหลอดเลือดสูง
  • เลือกทานอาหารที่ปรุงด้วยวิธีการต้ม นึ่ง อบ แทนการทอด เพื่อเป็นการหลีกเลี่ยงไขมันไม่ให้สูงเกินไป
  • เปลี่ยนชนิดน้ำมันในการทำอาหาร โดยให้เลือกใช้น้ำมันที่มีกรดไขมันไม่อิ่มตัวแทน เช่น น้ำมันรำข้าว น้ำมันมะกอก เป็นต้น
  • รับประทานผักให้หลากหลาย เพราะผักจะมีวิตามินและแร่ธาตุที่สำคัญ ในการป้องกันการอักเสบของหลอดเลือดหัวใจ เน้นทานให้หลากหลายให้ครบทุกสีจะดีที่สุด
  • ทานผลไม้ที่มีน้ำตาลน้อย ผลไม้ก็เป็นแหล่งรวมวิตามิน แร่ธาตุ และสารต้านอนุมูนอิสระที่ดีเช่นกัน แต่ต้องเน้นผลไม้ที่มีน้ำตาลน้อย เช่น แอปเปิล องุ่น ฝรั่ง เป็นต้น เพื่อป้องกันไม่ให้น้ำตาลในร่างกายสูงเกินไป ซึ่งถือว่าเป็นอาหารป้องกันโรคหลอดเลือดหัวใจที่ดีอีกชนิดหนึ่ง
  • งดดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และสูบบุหรี่อย่างเด็ดขาด เพราะส่งผลกระทบโดยตรงกับผู้ที่ป่วยโรคหลอดเลือดหัวใจ และยังกระตุ้นการทำงานให้หนักขึ้นด้วย ฉะนั้นควรเลิกอย่างเด็ดขาดเลยดีที่สุด
  • ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ การออกกำลังกายของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดหัวใจ ไม่จำเป็นต้องออกหักโหมเหมือนคนทั่วไปก็ได้ ให้เลือกวิธีออกกำลังกายที่เหมาะสม เพื่อให้ร่างกายแข็งแรง และหัวใจแข็งแรงขึ้น

อาการอะไรบ้าง ที่บ่งบอกว่าเป็นโรคหัวใจ

เมื่อเป็นโรคที่เกี่ยวกับหัวใจและหลอดเลือด ผู้ป่วยจะมีอาการแสดงออกมาให้เห็นที่ค่อนข้างชัดเจนดังนี้

  • มีอาการเจ็บที่หน้าอกด้านซ้าย ร้าวไปถึงบริเวณแขนด้านซ้ายไปจนถึงลำคอ ซึ่งส่วนใหญ่มักจะมีอาการเมื่อต้องออกแรงเยอะๆ หรือร่างกายเหนื่อยมาก เช่น ออกกำลังกายหนักๆ ยกของหนัก หรือมีความโกรธอย่างรุนแรง
  • รู้สึกเหมือนมีอะไรมาทับที่หน้าอกตลอดเวลา
  • เหนื่อยง่ายขึ้น หายใจถี่ แม้ยังไม่ได้ออกแรงหนักๆ
  • หน้ามืด หมดสติ
สาเหตุที่ทำให้เกิดโรคหลอดเลือดหัวใจ

ปัจจุบันมีความเสี่ยงของการเกิดโรคที่เกี่ยวกับหลอดเลือดและหัวใจหลายอย่าง ได้แก่

สาเหตุที่ทำให้เกิดโรคหลอดเลือดหัวใจ
  • อายุที่มากขึ้น คนที่มีอายุตั้งแต่ 40 ปีขึ้นไป มีความเสี่ยงที่จะเกิดโรคหัวใจได้มากกว่าคนอายุน้อย
  • พันธุกรรม หากคนในครอบครัวเคยมีประวัติเป็นโรคเกี่ยวกับหลอดเลือดหัวใจมาก่อน รุ่นลูกก็มีโอกาสเป็นได้
  • พฤติกรรมการทานอาหารที่ผิด เช่น การทานอาหารที่มีคอลเลสเตอรอลสูงเป็นเวลานานๆ อาหารที่มีไขมันและน้ำตาลสูง อาหารรสจัด
  • เป็นโรคเบาหวาน ผู้ป่วยหลายคนเป็นคู่กันทั้งสองโรค ทั้งโรคเบาหวานและหัวใจ
  • โรคอ้วน คนที่มีน้ำหนักเกินหรือเป็นโรคอ้วน มักมีความเสี่ยงเกิดโรคหัวใจได้ง่าย และอันตรายสูงกว่าคนทั่วไป
  • ไม่ออกกำลังกาย การขาดการออกกำลังกาย ทำให้ร่างกายเจ็บป่วยได้ง่าย และทำให้เป็นโรคอ้วนได้
  • การสูบบุหรี่ คนที่ติดบุหรี่เป็นเวลานาน มักมีโอกาสเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจได้ง่าย รวมถึงโรคปอด เพราะในควันบุหรี่มีสารพิษหลายร้อยชนิด ที่ทำให้เกิดโรค รวมไปถึงคนที่อยู่ใกล้ชิดด้วย หากอยู่ใกล้กับคนที่สูบ ก็มีโอกาสที่จะเกิดเป็นโรคหัวใจได้เช่นกัน
  • โรคความดันโลหิตสูง โรคนี้จะส่งผลกระทบกับการทำงานของหลอดเลือดหัวใจโดยตรง ทำให้เลือดสูบฉีดได้ไม่ดีพอ

สรุปส่งท้าย

จะเห็นว่าโรคที่เกี่ยวกับหัวใจ เป็นโรคที่อันตรายถึงชีวิตได้เลย ฉะนั้นควรรีบป้องกันเสียตั้งแต่วันนี้จะดีที่สุด เพราะหากเป็นขึ้นมาแล้ว จะต้องรักษากันนาน เริ่มต้นง่ายๆ ด้วยการทานอาหารป้องกันโรคหลอดเลือดหัวใจตั้งแต่วันนี้ รวมถึงการเปลี่ยนพฤติกรรมต่างๆ ในชีวิตประจำวันใหม่ทั้งหมด จะช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดโรคนี้ได้

คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับอาหารป้องกันโรคหลอดเลือดหัวใจ

ใครบ้างที่ควรรับประทานอาหารป้องกันโรคหลอดเลือดหัวใจ?

อาหารป้องกันโรคหลอดเลือดหัวใจ สามารถรับประทานได้ทุกเพศทุกวัย แต่ถ้าจะให้ดีที่สุด ต้องเริ่มรับประทานตั้งแต่อายุยังน้อย และคนที่ต้องเริ่มทานตั้งแต่ตอนนี้เลย ก็คือคนที่อายุตั้งแต่ 40 ปีขึ้นไป เพราะมีโอกาสที่จะเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจได้มากกว่าคนอายุยั้งน้อย รวมถึงการเปลี่ยนพฤติกรรมอื่นๆ ด้วย

โรคหลอดเลือดหัวใจ อันตรายมากแค่ไหน?

โรคนี้สามารถอันตรายถึงชีวิตได้เลย หากมีอาการใดๆ แสดงออกมาแล้วไม่เริ่มต้นรักษาตั้งแต่เนิ่นๆ ผู้ป่วยมีโอกาสสูงที่จะเสียชีวิตได้ แต่ถ้าได้รักษาตั้งแต่ระยะแรก ก็มีโอกาสที่จะกลับมาหายเป็นปกติได้ รวมถึงการเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิตใหม่ด้วย

ทำอย่างไรถึงจะรู้ว่าเราเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจ?

การตรวจสุขภาพประจำปี และการตรวจคัดกรองเกี่ยวกับโรคหัวใจและหลอดเลือด จะช่วยให้เราทราบความเปลี่ยนแปลงของร่างกายของตัวเองได้ดีที่สุด อย่างน้อยก็ควรตรวจสุขภาพประจำปี ปีละ 1 ครั้ง หากรู้ว่าเป็นโรคหัวใจ และมีพฤติกรรมใดที่เสี่ยง แพทย์ก็จะได้แนะนำวิธีการหลีกเลี่ยงตั้งแต่เนิ่นๆ เพื่อเป็นการป้องกันโรคได้ทันที แต่หากไม่มีการตรวจเลย ก็จะไม่รู้การเปลี่ยนแปลงของร่างกายของเราว่าเสี่ยงต่อโรคอะไรบ้าง


แชร์เรื่องนี้