5 สาเหตุที่ทำให้เกิดมะเร็งช่องปาก ภัยเงียบที่อันตรายถึงชีวิต

5 สาเหตุที่ทำให้เกิดมะเร็งช่องปาก ภัยเงียบที่อันตรายถึงชีวิต

แชร์เรื่องนี้

มะเร็งช่องปาก คือมะเร็งอีกหนึ่งประเภทที่อันตรายถึงชีวิต ถ้าหากไม่ได้รับการรักษา โดยเฉพาะหากมะเร็งอยู่ในช่วงที่ลุกลาม สามารถที่จะส่งผลกับอวัยวะส่วนอื่นได้เลย หรือร้ายแรงที่สุดก็คือเสียชีวิต

มะเร็งช่องปาก คืออะไร

มะเร็งช่องปาก คือเซลล์ที่ผิดปรกติ ที่แพร่กระจายอยู่ในบริเวณช่องปาก จนสุดท้ายพัฒนากลายเป็นเนื้อร้ายในที่สุด สามารถเกิดขึ้นได้ทั้งหมดในช่องปากของเรา ได้แก่ ริมฝีปาก ลิ้น เพดาน เป็นต้น ในอดีตคนที่เป็นโรคมะเร็งช่องปาก มีจำนวนที่สูงมากกว่าปัจจุบัน เพราะในยุคนั้นข้อมูลยังไม่เพียงพอ แต่ปัจจุบันมีการให้ความรู้แก่ประชาชนมากขึ้น จำนวนคนที่เป็นโรคนี้ก็ลดลง ที่เห็นได้ชัดเลยก็คือการกินหมาก ที่มีจำนวนผู้คนที่กินหมากทุกวันนี้ มีจำนวนลดลง

อาการของมะเร็งช่องปาก

อาการของผู้ป่วยที่เป็นมะเร็งช่องปาก อาจจะไม่ได้รุนแรงเหมือนกับเป็นมะเร็งชนิดอื่น ส่วนใหญ่แล้วอาการจะพบตรงบริเวณช่องปากเท่านั้น หากท่านใดมีอาการเหล่านี้อยู่ แนะนำว่าให้พบแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัยอย่างละเอียดเลยจะดีที่สุด สำหรับอาการที่พบเจอได้บ่อยก็คือ

  • มีอาการร้อนในแล้วไม่หาย บางทีเป็นเดือนก็ยังรักษาไม่หาย
  • มีรอยสีขาวแดงในบริเวณช่องปาก เหมือนกับคนเป็นโรคผิวหนัง
  • มีก้อนเนื้อแปลกๆ เกิดขึ้นในบริเวณช่องปาก
  • มีอาการปวดในช่องปาก
  • การพูดส่งเสียงลำบากมากขึ้น และมีอาการเจ็บทุกครั้งที่พูด บางทีอาจลามไปถึงหู
  • มีเลือดออกในช่องปาก

5 สาเหตุที่ทำให้เกิดมะเร็งช่องปาก

สำหรับสาเหตุที่ทำให้เกิดมะเร็งช่องปากนั้น ส่วนใหญ่แล้วเกิดจากพฤติกรรมการใช้ชีวิตของผู้ป่วยเองด้วย อาการที่เสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งช่องปาก ที่ควรระวังมีดังนี้

  • มีประวัติคนในครอบครัวเคยเป็นมาก่อน
มีประวัติคนในครอบครัวเคยเป็นมาก่อน 2
มีประวัติคนในครอบครัวเคยเป็นมาก่อน

หากคนครอบครัวเคยมีประวัติการเสียชีวิตจากมะเร็งช่องปาก สมาชิกรุ่นต่อไปก็มีความเสี่ยงที่จะเป็นได้เช่นกัน

  • การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์

ผู้ที่ดื่มแอลกอฮอล์ มีความเสี่ยงที่จะเกิดมะเร็งช่องปากมากกว่าผู้ที่ไม่ดื่มมากกว่า 5 เท่า

  • สูบบุหรี่
สูบบุหรี่
สูบบุหรี่

ผู้ที่สูบบุหรี่เป็นเวลานาน มีโอกาสที่จะเกิดมะเร็งช่องปากมากกว่าผู้ที่ไม่สูบมากถึง 5 เท่า เพราะในบุหรี่มีสารพิษที่ส่งผลกับช่องปาก เมื่อได้รับสารพิษเหล่านี้เป็นเวลานาน ก็ทำให้เซลล์ในช่องปากกลายพันธุ์เป็นเซลล์มะเร็งได้

  • การกินหมาก
การกินหมาก
การกินหมาก

ในหมากมีสารที่อันตรายต่อช่องปาก ที่จะทำให้ระคายเคืองและเป็นแผล ผู้ที่เคี้ยวหมากจึงมีความเสี่ยงสูงมากที่จะเป็นมะเร็งช่องปาก และในอดีตจำนวนคนที่เป็นมะเร็งช่องปากด้วยการเคี้ยวหมาก ถือว่าพบเจอเยอะที่สุด จนในปัจจุบันมีการให้ความรู้ที่ถูกต้องกับผู้ที่กินหมาก ว่าเป็นสาเหตุที่ก่อให้เกิดมะเร็งช่องปากได้ ทำให้จำนวนผู้ที่กินหมากมีจำนวนลดลงกว่าในอดีตมากขึ้น มีผู้ป่วยมะเร็งช่องปากจากการกินหมากน้อยลง

  • การติดเชื้อ HPV
การติดเชื้อ HPV
การติดเชื้อ HPV

เชื้อ HPV หรือ (Human Papillomavirus) เป็นเชื้อที่สามารถติดต่อกันได้ผ่านการสัมผัสเลือด รวมถึงการมีเพศสัมพันธ์กับผู้ที่ได้รับเชื้ออยู่แล้ว โดยเฉพาะการมีเพศสัมพันธ์ทางปาก ทางทวารหนัก มีความเสี่ยงสูงมากที่จะได้รับเชื้อชนิดนี้ จนเป็นสาเหตุของมะเร็งช่องปาก

วิธีการรักษามะเร็งช่องปาก

ในการรักษามะเร็งช่องปาก แพทย์จะรักษาตามความรุนแรงของผู้ป่วย อาจจะใช้เพียงแค่วิธีใดวิธีหนึ่ง หรืออาจต้องใช้หลายวิธีพร้อมกันก็ได้ ปัจจุบันมีวิธีการรักษา ได้แก่

  • การผ่าตัด
การผ่าตัด
การผ่าตัด

เป็นการผ่าตัดเพื่อเอาก้อนเนื้อร้ายที่อยู่ในช่องปากออก ซึ่งการผ่าตัดอาจทำให้ต้องสูญเสียเนื้อบริเวณนั้นๆ ออกไปด้วย เพราะฉะนั้นแพทย์ต้องทำเนื้อจากอวัยวะส่วนอื่นมาปิดซ่อมแซม เพื่อตกแต่งให้เรียบร้อย

  • การฉายรังสี
การฉายรังสี
การฉายรังสี

เป็นการฉายรังสีเพื่อไปที่เซลล์มะเร็ง เพื่อกำจัดเชื้อมะเร็ง อาจจะใช้ควบคู่กับวิธีการผ่าตัดด้วยก็ได้ แต่ถ้าบริเวณใดที่ไม่สามารผ่าตัดได้ แพทย์ก็จะใช้การฉายรังสีแทน

  • การใช้เคมีบำบัด
การใช้เคมีบำบัด
การใช้เคมีบำบัด

เป็นการใช้ยาเพื่อให้ออกฤทธิ์ในการทำลายเซลล์มะเร็งในช่องปาก เช่น การทำคีโม ซึ่งการใช้ยารักษา สามารถช่วยป้องกันไม่ให้เซลล์มะเร็งแพร่กระจายไปยังอวัยวะส่วนอื่นของร่างกายด้วย

วิธีช่วยลดความเสี่ยงมะเร็งช่องปาก

ความจริงแล้วมะเร็งช่องปาก เราสามารถป้องกันหรือลดความเสี่ยงได้ เพียงแค่ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิตของเราใหม่ หากไม่ทำพฤติกรรมใดที่เสี่ยง โอกาสที่จะเกิดโรคชนิดนี้ ถือว่าน้อยมาก มีอะไรบ้างที่เราควรหลีกเลี่ยง

  • งดสูบบุหรี่ เพราะบุหรี่ถือว่าเป็นตัวการหลักของมะเร็งช่องปากในปัจจุบัน ฉะนั้นการหลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่ จะช่วยลดความเสี่ยงได้มากถึง 5 เท่า ยิ่งคนที่มีประวัติการสูบมาเป็นเวลานาน โอกาสที่จะเกิดก็เร็วขึ้นเท่านั้น
  • งดดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เช่นเดียวกับการสูบบุหรี่ หากสามารถเลี่ยงการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ได้ โอกาสที่จะเกิดมะเร็งช่องปากถือว่าน้อย
  • ไม่กินหมาก เพราะหมากเป็นอะไรที่ติดได้ง่ายมาก ฉะนั้นควรหลีกเลี่ยงการลอง หรือผู้ที่กินอยู่แล้ว ก็ควรหาทางเลิกจะดีที่สุด
  • รักษาความสะอาดในช่องปาก หากในช่องปากมีแบคทีเรีย หรือฟันผุรุนแรง เหงือกบวม ติดเชื้อ อาการเหล่านี้ สามารถทำให้เซลล์กลายพันธุ์เป็นเซลล์มะเร็งได้ เราสามารถป้องกันได้ด้วยการรักษาสุขภาพช่องปากของเราให้ดีที่สุดตั้งแต่ตอนนี้
  • ป้องกันขณะมีเพศสัมพันธ์ ทุกครั้งที่มีเพศสัมพันธ์ ควรมีการป้องกันด้วยการใส่ถุงยางอนามัยทุกครั้ง เพื่อเป็นการป้องกันการติดเชื้อ HPV และยังเป็นการช่วยป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์อื่นๆ ได้ด้วย และพยายามหลีกเลี่ยงการมีเพศสัมพันธ์ทางทวารหนัก หรือทางปาก เพื่อเป็นการลดความเสี่ยงต่อการติดเชื้อ

การตรวจวินิจฉัยมะเร็งช่องปาก

มะเร็งช่องปาก สามารถรักษาให้หายขาดได้ หากพบเชื้อตั้งแต่เนิ่นๆ และทำการรักษาได้ทันท่วงที ซึ่งการจะตรวจพบเชื้อได้เร็วเท่าไหร่นั้น ขึ้นอยู่กับการเข้ารับการตรวจวินิจฉัย วิธีการเข้ารับการตรวจก็ไม่ยาก เพียงแค่เราเข้าพบกับทันตแพทย์ เพื่อตรวจสุขภาพฟันบ่อยๆ โดยเลือกการตรวจอย่างละเอียดทุกอย่างในช่องปาก นอกเหนือจากฟันด้วย ว่ามีก้อนเนื้ออะไรที่ผิดปรกติหรือไม่ มีรอยสีขาว สีแดงที่ผิดปรกติหรือไม่ รวมถึงดูอาการบวมบริเวณที่เกี่ยวข้องกับช่องปาก หากแพทย์พบความผิดปรกติ ก็สามารถทำการรักษาได้ทันที ทำให้มีโอกาสที่จะหายขาดได้เลย เพียงแค่เราต้องหมั่นเข้ารับการตรวจสุขภาพฟันและช่องปากอย่างสม่ำเสมอเท่านั้น

ควรดูแลช่องปากของตัวเองอย่างไร

การดูแลสุขภาพช่องปากของเราถือว่าสำคัญมาก อย่างเช่นการทำกิจวัตรพื้นฐานอย่างการแปรงฟันทุกวัน อย่างน้อยวันละ 2 มื้อ ก็ช่วยให้สุขภาพฟันดีขึ้นได้ และช่วยลดแบคทีเรีย ลดการติดเชื้อ หรือการปวดฟันรุนแรงได้เช่นกัน สิ่งที่ควรทำควบคู่ไปด้วยก็คือ การตรวจเช็คความผิดปรกติของช่องปากของเราเอง ว่ามีอะไรผิดปรกติหรือไม่ หากมีอะไรที่ผิดปรกติ เช่น มีการปวด บวม มีแผลเกิดขึ้น ควรพบทันตแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัยในทันที เพื่อหาทางป้องกันและรักษาต่อไป

สรุปส่งท้าย

มะเร็งช่องปาก หากเราละเลยไม่สนใจ ก็สามารถทำให้เสียชีวิตได้เช่นกัน ดังนั้นทันทีที่รู้สึกว่ามีอะไรผิดปรกติกับช่องปากของเรา ควรเข้ารับการตรวจรักษาโดยเร็วที่สุด

คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับมะเร็งช่องปาก

มะเร็งช่องปาก สามารถรักษาให้หายขาดได้หรือไม่?

สามารถรักษาให้หายขาดได้ หากมีการตรวจพบตั้งแต่ระยะเริ่มต้น มะเร็งยังไม่ได้มีการลุกลาม แพทย์ก็จะใช้วิธีการผ่าตัดเพื่อรักษา หรืออาจใช้วิธีฉายรังสี หลังจากนั้นผู้ป่วยก็มีโอกาสที่จะหายขาดได้เลย

มะเร็งช่องปาก มักเกิดกับคนช่วงอายุเท่าไหร่?

ส่วนใหญ่แล้วผู้ป่วยที่เป็นมะเร็งช่องปาก มักจะพบเจอในช่วงอายุตั้งแต่ 45 ปีขึ้นไป แต่ถ้าผู้ป่วยมีสาเหตุหรือมีความเสี่ยงอย่างอื่น เช่น ก็ไม่จำเป็นต้องเป็นผู้สูงอายุก็ได้ เช่น ผู้ป่วยที่ได้รับเชื้อ HPV จากการมีเพศสัมพันธ์ หรือติดทางเลือด

ใครบ้างที่ควรเข้ารับการตรวจวินิจฉัยมะเร็งช่องปาก?

ผู้ที่มีปัญหาเกี่ยวกับช่องปาก เช่น มีอาการปวดบวมผิดปรกติ มีตุ่มหรือวงสีขาวสีแดงในช่องปาก และคนที่เป็นร้อนในมาเป็นเวลานานแต่รักษาไม่หายสักที ควรเข้าพบแพทย์เพื่อวินิจฉัยให้เร็วที่สุด และอย่างน้อยควรเข้ารับการตรวจกับทันตแพทย์ปีละครั้ง


แชร์เรื่องนี้