5 ปัจจัยเสี่ยงทำให้เกิด มะเร็งรังไข่ ภัยเงียบที่ทำร้ายผู้หญิงโดยไม่รู้ตัว

5 ปัจจัยเสี่ยงทำให้เกิด มะเร็งรังไข่ ภัยเงียบที่ทำร้ายผู้หญิงโดยไม่รู้ตัว

แชร์เรื่องนี้

มะเร็งรังไข่ นับว่าเป็นมะเร็งอันตรายและรุนแรงที่สุดสำหรับผู้หญิง ปัจจุบันจำนวนผู้ป่วยพุ่งสูงขึ้น การทำความเข้าใจกับโรค และหาทางป้องกันเอาไว้ก่อน เป็นอีกหนึ่งทางที่จะทำให้ห่างไกลจากโรคนี้

มะเร็งรังไข่ คืออะไร

มะเร็งรังไข่ เกิดจากความผิดปรกติของเซลล์ในรังไข่และท่อนำไข่ของผู้หญิง ซึ่งเซลล์ที่ผิดปรกติเหล่านั้นจะมีการแบ่งตัวอย่างรวดเร็ว ไม่สามารถควบคุมได้ จนกลายเป็นเซลล์มะเร็งในที่สุด จากก้อนมะเร็งขนาดเล็ก ก็จะมีขนาดโตขึ้นเรื่อยๆ สามารถที่จะแพร่กระจายไปยังส่วนต่างๆ ของร่างกาย และอวัยวะส่วนอื่นได้ทุกที่ ตั้งแต่ เข้าสู่กระแสโลหิต เข้าสู่ระบบน้ำเหลือง ไปยังตับ ปอด และส่วนอื่นๆ ยิ่งปล่อยเวลานานไปเท่าไหร่ ความอันตรายของโรคก็ยิ่งมากขึ้นเท่านั้น

อาการของผู้ป่วย มะเร็งรังไข่

อาการของผู้ป่วย มะเร็งรังไข่
อาการของผู้ป่วย

ผู้ป่วยที่เป็นโรคมะเร็งรังไข่ ในระยะเริ่มต้นนั้น แทบจะสังเกตหรือไม่มีอาการใดๆ บ่งบอกได้เลย ว่าเป็นมะเร็งหรือไม่ ด้วยเหตุนี้เอง ทำให้ผู้ป่วยหลายคนชะล่าใจ แต่หลังจากที่มะเร็งงเข้าสู่ระดับที่รุนแรงขึ้น อาการต่างๆ ก็จะปรากฎออกมาได้เด่นชัดมากขึ้น ได้แก่

  • มีอาการท้องอืด ท้องเฟ้อ เหมือนอาหารไม่ย่อย
  • รู้สึกคลื่นไส้อาเจียนอยู่บ่อยครั้ง
  • ทานอาหารได้น้อยลง รู้สึกเบื่ออาหาร น้ำหนักตัวลดลงโดยไม่ทราบสาเหตุ
  • รู้สึกเหนื่อยง่าย บางครั้งอยู่เฉยๆ ก็รู้สึกเหนื่อย
  • มีอาการปวดบริเวณอุ้งเชิงกรานบ่อยครั้ง
  • ปวดท้อง ท้องบวมโต
  • มีเลือดออกบริเวณช่องท้อง แม้จะหมดประจำเดือนไปแล้ว

ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิด มะเร็งรังไข่

มะเร็งรังไข่ สาเหตุเกิดขึ้นได้จากหลายปัจจัย ซึ่งปัจจัยความเสี่ยงที่พบได้บ่อยที่สุดได้แก่

1.การส่งต่อทางกรรมพันธุ์

การส่งต่อทางกรรมพันธุ์
การส่งต่อทางกรรมพันธุ์

หากคนในครอบครัวเคยมีประวัติเป็นมะเร็งรังไข่ รุ่นลูกรุ่นหลานต่อๆ ไปก็สามารถเป็นมะเร็งรังไข่ได้เช่นกัน เหมือนกับมะเร็งเต้านม

2.อายุที่มากขึ้น

อายุที่มากขึ้น
อายุที่มากขึ้น

ผู้หญิงที่อายุสูงขึ้น จะมีความเสี่ยงในการเกิดมะเร็งรังไข่ได้มากกว่าคนอายุน้อย เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน และจำนวนผู้ป่วยมะเร็งรังไข่ในปัจจุบัน ส่วนใหญ่ล้วนเป็นผู้สูงอายุ

3.การใช้ฮอร์โมนเป็นเวลานาน

การใช้ฮอร์โมนเป็นเวลานาน
การใช้ฮอร์โมนเป็นเวลานาน

ยาประเภทฮอร์โมนบางชนิด แม้ว่าจะช่วยในการรักษาโรคอื่นๆ ได้ แต่บางชนิดก็เป็นตัวกระตุ้นทำให้เกิดมะเร็งรังไข่ได้เช่นกัน หากจำเป็นต้องใช้ยาประเภทนี้ในการรักษา ควรปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญก่อนทุกครั้ง เพื่อความปลอดภัย

4.ประจำเดือนมาเร็วและหมดช้ากว่าคนทั่วไป

ประจำเดือนมาเร็วและหมดช้า
ประจำเดือนมาเร็วและหมดช้า

ผู้หญิงที่มีประจำเดือนก่อนอายุ 12 ปี และหมดประจำเดือนช้ากว่า 55 ปี มีความเสี่ยงมากกว่าผู้หญิงที่มีประจำเดือนช้า และหมดประจำเดือนเร็ว

5.ความผิดปรกติของโพรงมดลูก

ความผิดปรกติของโพรงมดลูก
ความผิดปรกติของโพรงมดลูก

เช่นผู้หญิงที่มดลูกเจริญผิดที่ ต้องรีบทำการรักษาทันที เพราะว่ายิ่งปล่อยไว้ก็ยิ่งอันตราย และยังเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งรังไข่

ระยะของมะเร็งรังไข่

มะเร็งรังไข่ สามารถแบ่งออกได้ทั้งหมดเป็น 4 ระยะ ตามความรุนแรงของอาการ ดังต่อไปนี้

  • ระยะที่ 1 เป็นระยะที่ตรวจพบเซลล์มะเร็งบริเวณรังไข่ อาจเจอเพียงข้างเดียว หรือสองข้างก็ได้
  • ระยะที่ 2 มะเร็งที่อยู่ในรังไข่ เริ่มมีการกระจายตัวออกมาบริเวณรอบๆ รังไข่ แต่ยังไม่ได้กระจายตัวออกไปยังส่วนอื่นๆ
  • ระยะที่ 3 เป็นระยะที่เซลล์มะเร็งเริ่มมีการแพร่กระจายจากท่อนำไข่หรือรังไข่ ไปยังส่วนต่างๆ เช่น กระจายไปยังต่อมน้ำเหลือง เป็นต้น
  • ระยะที่ 4 เป็นระยะที่มะเร็งได้มีการแพร่กระจายไปยังส่วนต่างๆ ของร่างกาย รวมถึงอวัยวะต่างๆ ที่สำคัญ เช่น ปอด ตับ หัวใจ เป็นระยะที่อันตรายที่สุด

วิธีการรักษามะเร็งรังไข่

การรักษามะเร็งรังไข่ แพทย์จะพิจารณาถึงความรุนแรงและอาการของผู้ป่วยแต่ละราย ว่าอยู่ในระยะใด เพื่อเลือกวิธีการรักษให้เหมาะสม วิธีการรักษาในปัจจุบันมีดังนี้

  • รักษาด้วยการผ่าตัด
รักษาด้วยการผ่าตัด
รักษาด้วยการผ่าตัด

เป็นการตัดท่อนำไข่ หรือว่ารังไข่ออก หรือส่วนที่ใกล้เคียง เช่นต่อมน้ำเหลือง เพื่อเป็นการป้องกันไม่ให้เซลล์มะเร็งกระจายไปยังส่วนอื่นๆ

  • การรักษาด้วยเคมีบำบัด
การรักษาด้วยเคมีบำบัด
การรักษาด้วยเคมีบำบัด

เป็นการใช้สารเคมีฉีดเข้าสู่ร่างกาย เพื่อทำลายเซลล์มะเร็งในร่างกายให้เร็วที่สุด เพื่อหยุดการลุกลามของมะเร็ง ซึ่งการรักษาด้วยวิธีนี้ จะมีอาการแทรกซ้อนอย่างอื่นตามมา เช่น ผมร่วง อาเจียน

  • การรักษาด้วยฮอร์โมน
การรักษาด้วยฮอร์โมน
การรักษาด้วยฮอร์โมน

เป็นการใช้ฮอร์โมนเข้าไปเพื่อหยุดการเติบโตของเซลล์มะเร็ง หรือชะลอการเจริญเติบโตของเซลล์ ไม่ให้ลุกลามไปยังส่วนอื่นๆ

  • การรักษาตามอาการ
การรักษาตามอาการ
การรักษาตามอาการ

เป็นการดูแลตามอาการของผู้ป่วย เช่น การบรรเทาความเจ็บปวดของผู้ป่วย รวมถึงการดูแลเยียวยาจิตใจของผู้ป่วย ให้มีอารมณ์แจ่มใส มีความสุขอยู่เสมอ

การตรวจคัดกรองมะเร็งรังไข่

เนื่องจากมะเร็งรังไข่ ไม่สามารถบ่งบอกได้ด้วยการตรวจภายนอก หรือดูเพียงแค่อาการบางอย่าง ต้องมีการตรวจวินิจฉัยอย่างละเอียดจากแพทย์เท่านั้น ซึ่งวิธีการตรวจในปัจจุบันได้แก่

  • การตรวจด้วยวิธีการสแกนเป็นภาพ

เป็นการใช้เครื่องมือในการสแกนภาพถ่ายอุ้งเชิงกราน บริเวณช่องคลอด และรังไข่ เพื่อนำภาพที่ได้มาวินิจฉัยของลักษณะของก้อนมะเร็ง

  • การตรวจภายใน

แพทย์จะใช้ถุงมือและสอดเข้าไปในช่องคลอด พร้อมกับคลำบริเวณหน้าท้อง เพื่อดูความผิดปรกติของมดลูกและดูขนาดของมดลูก

  • การตรวจทางพันธุกรรม

เป็นการตรวจเพื่อดูการเปลี่ยนแปลงของพันธุกรรม เพื่อนำมาประเมินแนวทางในการรักษาแก่ผู้ป่วยและหาแนวทางการรักษาที่เหมาะสม

  • การตรวจชิ้นเนื้อ

แพทย์จะใช้เครื่องมือผ่าตัด และตัดชิ้นเนื้อบริเวณรังไข่ออกมาเข้าห้องปฏิบัติการ เพื่อดูความผิดปกติของมดลูก และวินิจฉัยเกี่ยวกับมะเร็ง พร้อมกับประเมินความรุนแรงของมะเร็ง เพื่อวางแผนแนวทางในการรักษาที่เหมาะสม และรับมือการกระจายตัวของเซลล์มะเร็ง นับว่าเป็นวิธีการตรวจที่มีความละเอียดที่สุด และมีความแม่นยำมากที่สุด เมื่อเทียบกับวิธีการตรวจแบบอื่น

แนวทางการป้องกันมะเร็งรังไข่

วิธีที่จะช่วยให้ห่างไกลจากโรค ก็คือการหาทางป้องกันเอาไว้ก่อน จะดีกว่าการหาวิธีการรักษา แนวทางที่จะช่วยในการป้องกันได้ มีดังนี้คือ

  • เลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ เช่น รับประทานผัก ผลไม้ให้หลากหลาย ซึ่งจะช่วยในการเพิ่มภูมิต้านทานให้กับร่างกาย และสารต้านอนุมูลอิสระที่ช่วยป้องกันโรคมะเร็ง
  • หลีกเลี่ยงอาหารที่มีมันจัด โดยเฉพาะอาหารที่มาจากไขมันสัตว์ เพราะว่าเป็นสาเหตุร่วมอีกหนึ่งสาเหตุ ที่ทำให้เกิดมะเร็งรังไข่
  • ควบคุมน้ำหนักของตัวเอง ระวังไม่ให้มีน้ำหนักเกินมาตรฐาน เพราะคนที่มีน้ำหนักตัวสูง หรือคนอ้วน มีความเสี่ยงสูงกว่าคนที่ผอม
  • ไม่ใช้ยาต่างโดยพลการ ก่อนใช้ยาในการรักษาโรคต่างๆ ควรปรึกษากับแพทย์ให้รอบคอบก่อน เพราะยาบางชนิดสามารถไปกระตุ้นการเกิดมะเร็งได้ หรือทำให้มะเร็งมีความรุนแรงขึ้นได้
  • การตรวจคัดกรองอย่างสม่ำเสมอ อย่างน้อยต้องเข้ารับการตรวจคัดกรองมะเร็งรังไข่ปีละ 1 ครั้ง เพื่อจะได้ทราบการเปลี่ยนแปลงของรังไข่ของเรา และหาทางรับมือได้ทัน

สรุปส่งท้าย

เนื่องจากมะเร็งรังไข่เป็นมะเร็งที่มีความอันตราย และผู้ป่วยจะได้รับความทรมานค่อนข้างมาก ฉะนั้นไม่ควรปล่อยปละละเลย ควรหันมาดูแลเอาใจใส่ตัวเองตั้งแต่ตอนนี้จะดีที่สุด จะช่วยให้ห่างไกลจากโรคร้ายนี้ได้

คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับมะเร็งรังไข่

มะเร็งรังไข่รักษาให้หายขาดได้หรือไม่?

สามารถรักษาให้หายขาดได้ หากตรวจพบเซลล์มะเร็งตั้งแต่เนิ่นๆ และเซลล์มะเร็งยังไม่ได้มีการลุกลามไปยังส่วนอื่นๆ แพทย์สามารถรักษาด้วยวิธีการผ่าตัดเอาก้อนมะเร็งออก ซึ่งผู้ป่วยมีโอกาสหายขาดได้เลย หลังจากที่เข้ารับการผ่าตัด ยิ่งรู้ได้เร็วเท่าไหร่ การรักษาก็ง่ายตามไปด้วย

ใครบ้างที่ควรเข้ารับการตรวจคัดกรองมะเร็งรังไข่?

ผู้หญิงที่อยู่ในวัยหมดประจำเดือน หรืออายุมากกว่า 50 ปีขึ้นไป ควรเข้ารับการตรวจทุกปี เพราะเป็นวัยที่มีความเสี่ยงสูง ส่วนผู้หญิงในวัยอื่น ก็สามารถตรวจได้เช่นกัน แม้ว่าจะมีเปอร์เซ็นต์เป็นได้น้อยกว่า แต่ก็เป็นได้เช่นกัน การตรวจสุขภาพอย่างสม่ำเสมอ จะช่วยให้เสี่ยงน้อยลง

การดูแลผู้ป่วยมะเร็งรังไข่ ควรดูแลอย่างไร?

ผู้ป่วยที่เป็นมะเร็งรังไข่ หรือผู้ที่ดูแลผู้ป่วยที่เป็นโรคนี้ ควรดูแลสุขภาพจิตใจของผู้ป่วยให้ดี เพราะสภาพจิตใจของผู้ป่วยจะค่อนข้างย่ำแย่ โดยเฉพาะเมื่อมีอาการเจ็บปวด และควรเข้าพบแพทย์ที่ทำการรักษาตามนัดอย่างเคร่งครัด หรือหากมีอาการทรุดเกิดขึ้น ก็ควรรีบนำตัวส่งแพทย์ทันที


แชร์เรื่องนี้