อาหารบำรุงปอด เป็นอาหารที่ควรรับประทานเป็นประจำ เพราะว่าปอดและทางเดินหายใจเป็นอวัยวะที่เราใช้งานทุกวัน วิธีการป้องกันที่เราทำได้ง่ายที่สุด ก็คือการเลือกรับประทานอาหารที่ช่วยในการบำรุงปอดนั่นเอง
อาหารที่ช่วยบำรุงปอดที่ควรทานทุกวัน
- ขิง
เป็นเครื่องเทศและสมุนไพรที่มีความสำคัญทางยาหลายชนิด จะนำมาประกอบอาหารก็ได้ หรือนำมาทำเป็นเครื่องดื่มก็ได้ เมื่อเรารับประทานขิงเป็นประจำ จะทำให้ร่างกายขับสารพิษออกได้ดีขึ้น และในขิงยังมีสารต้านอนุมูนอิสระ ที่ช่วยป้องกันโรค ช่วยทำให้ปอดและระบบทางเดินหายใจดีขึ้น แถมยังช่วยเรื่องระบบเผาผลาญ ป้องกันโรคอ้วนได้ด้วย เป็นสมุนไพรที่รับประทานได้ทุกวัน
- ขมิ้น
สมุนไพรพื้นบ้านที่มองข้ามไม่ได้เลย เพราะในขมิ้น มีสารที่เรียกว่าเคอร์คูมิน ที่ช่วยในการเสริมสร้างการทำงานของปอดและระบบทางเดินหายใจให้ดีขึ้น ช่วยเพิ่มกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันและเม็ดเลือดขาวให้ทำงานได้ดีขึ้น ป้องกันและยับยั้งไม่ให้เชื้อทำลายปอด แถมช่วยฟื้นฟูปอดที่เสียหายจากการถูกทำลายได้ด้วย
- ถั่วและธัญพืช
สารอาหารในถั่วและธัญพืช เช่น ถั่วลิสง ถั่วแดง ถั่วดำ อัลมอนด์ เมล็ดฟักทอง เมล็ดทานตะวัน ล้วนอุดมไปด้วยวิตามินและแร่ธาตุหลากหลายชนิด แถมยังมีแมกนีเซียมสูง ซึ่งช่วยในเรื่องของระบบการหมุนเวียนเลือด เสริมสร้างการทำงานของปอดให้ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ป้องกันไม่ให้เกิดโรคที่เกี่ยวกับปอด เป็นอาหารบำรุงปอดที่สามารถรับประทานได้ทุกวัน
- หอยนางรม
ในหอยนางรมจะมีสารอาหารที่สำคัญกับร่างกายหลายอย่าง โดยเฉพาะสารอาหารจำพวกธาตุเหล็ก สังกะสี และวิตามิน แร่ธาตุเหล่านี้มีส่วนสำคัญในการช่วยบำรุงปอด และเสริมสร้างการทำงานของปอดให้มีประสิทธิภาพ ไม่เป็นโรคง่าย แถมยังช่วยในการบำรุงระบบไหลเวียนเลือดอีกด้วย แต่ต้องรับประทานในปริมาณที่เหมาะสม เพราะว่าอาหารทะเลมีคอเลสเตอรอลสูง
- ผลไม้ตระกูลเบอรี่
เช่น บลูเบอรี่ สตรอเบอรี่ ราสเบอรี่ แบล็คเบอรี่ เป็นแหล่งรวมวิตามินที่จำเป็นต่อร่างกาย เช่น วิตามินซี วิตามินอี และยังมีสารต้านอนุมูนอิสระ ช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดโรคมะเร็ง และยังช่วยในเรื่องของระบบทางเดินหายใจ เสริมสร้างการทำงานของปอดให้แข็งแรง
- ทานผักหลากสีทุกวัน
ในผักแต่ละสี จะมีสารอาหารมีวิตามินและแร่ธาตุที่สำคัญกับร่างกายที่แตกต่างกัน ช่วยเสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกันให้กับร่างกาย ลดความเสี่ยงของการเกิดโรคต่างๆ รวมถึงโรคปอดและโรคที่เกี่ยวกับทางเดินหายใจ ช่วยในระบบย่อยอาหารด้วย เพราะฉะนั้นในแต่ละวัน ควรมีผักในมื้ออาหารทุกมื้อ และพยายามทานให้ครบทุกสี
พฤติกรรมที่เสี่ยงทำให้ปอดถูกทำลายมากที่สุด
ปอดเราจะดีหรือแย่นั้น ขึ้นอยู่กับพฤติกรรมการใช้ชีวิตประจำวันของเราด้วย หากทำพฤติกรรมที่เสี่ยง ก็มีโอกาสสูงที่จะทำให้ปอดถูกทำลายได้ง่าย มาดูว่าพฤติกรรมอะไรบ้าง ที่ทำอันตรายกับปอดของเราได้มากที่สุด
- การสูบบุหรี่ เป็นสาเหตุหลักที่ทำให้ปอดถูกทำลายได้มากที่สุด ซึ่งในควันบุหรี่นั้นจะมีสารพิษและสารเคมีหลายชนิดที่เป็นอันตรายต่อร่างกาย ซึ่งอวัยที่ถูกทำลายมากที่สุดจากการสูบบุหรี่ก็คือปอดนั่นเอง
- อยู่ใกล้ชิดกับคนที่สูบบุหรี่ ไม่เพียงแค่คนที่สูบเท่านั้น ที่จะได้รับอันตรายจากควันบุหรี่ คนที่อยู่ใกล้และสูดดมควันบุหรี่ทุกวัน ก็เสี่ยงที่จะทำให้ปอดถูกทำลายได้
- ทำงานกับสารเคมีบ่อยๆ คนที่อยู่กับสารเคมี ในโรงงานอุตสาหกรรม หรือชาวนาที่อยู่กับสารกำจัดศัตรูพืช แล้วไม่มีอุปกรณ์ป้องกันที่ดี จะเกิดอันตรายเกี่ยวกับปอดและโรคทางเดินหายใจได้ง่าย
- บ้านที่สกปรก ขาดการดูแล บ้านก็เป็นแหล่งรวมสิ่งสกปรกและเชื้อโรคได้เช่นกัน โดยเฉพาะบ้านที่ไม่ได้ทำความสะอาด จะมีฝุ่นมีเชื้อโรคอยู่เยอะ ซึ่งเสี่ยงทำให้เกิดโรคปอด โรคภูมิแพ้ และโรคที่เกี่ยวกับทางเดินหายใจ
- จุดธูปในบ้านบ่อยๆ ควันธูปที่สูดดมเข้าไปบ่อยๆ ก็เป็นอันตรายกับร่างกายเช่นกัน ฉะนั้นเวลาจุดธูป ควรจุดในที่โล่ง ที่อากาศระบายได้ เพื่อเลี่ยงไม่ให้เกิดอันตรายกับตัวเรา
- อยู่ในสถานที่ที่มีฝุ่นพิษเยอะ เช่น ฝุ่น P.M 2.5 ซึ่งกำลังเป็นปัญหาหนักในขณะนี้ หากไม่มีอุปกรณ์การป้องกันที่ดีขณะที่ออกไปนอกบ้าน จะทำให้เสี่ยงต่อการเกิดโรคปอด และโรคทางเดินหายใจได้ง่าย บางคนเป็นมะเร็งปอดโดยที่ไม่รู้ตัวด้วยซ้ำ แค่อยู่ในพื้นที่เสี่ยงระยะสั้นๆ
- ขาดการออกกำลังกาย การออกกำลังกาย เป็นการช่วยเสริมสร้างการทำงานของปอด ให้ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ และแข็งแรง คนที่ขาดการอออกำลังกาย จะทำให้ป่วยง่าย ภูมิต้านทานก็ต่ำลง และเป็นโรคได้หลายอย่าง
โรคที่เกี่ยวกับปอดและทางเดินหายใจ
เมื่อเราทำพฤติกรรมที่เสี่ยงต่อการทำลายปอดแล้ว ก็จะเกิดผลกระทบตามมาเสมอ นั่นก็คือเกิดโรคที่เกี่ยวกับปอดและทางเดินหายใจ ซึ่งมีหลายโรคที่เป็นอันตราย ได้แก่
- โรคมะเร็งปอด เป็นโรคที่อันตรายและมีความรุนแรง ถึงขั้นเสียชีวิตได้เลย เกิดจากการที่ปอดได้รับสารพิษเป็นเวลานานๆ เช่น จากการสูบบุหรี่ จากการสูดดมควันพิษหรือสารเคมีบ่อยๆ เป็นต้น
- โรคหลอดลมอักเสบ เกิดจากการติดเชื้อในหลอดลม ผู้ป่วยจะมีอาการไออย่างรุนแรง และไอปนเลือด
- โรคหอบหืด เกิดจากการแพ้ฝุ่นหรือสารเคมี ที่สัมผัสในชีวิตประจำวัน ผู้ป่วยจะมีอาการเหนื่อยง่าย หายใจเสียงดัง และมีอาการกำเริบเวลาที่ตกใจ
- โรคปอดอักเสบ เกิดจากการติดเชื้อในปอด ทั้งจากไวรัส แบคทีเรีย หรือเชื้อรา ผู้ป่วยจะมีอาการเจ็บหน้าอก ไออย่างรุนแรง และร่างกายอ่อนเพลีย
- ไข้หวัด เกิดขึ้นเมื่อภูมิคุ้มกันของร่างกายลดลง ผู้ป่วยจะมีอาการน้ำมูกไหล ปวดศีรษะ และมีอาการไอร่วมด้วย
วิธีทำให้ปอดแข็งแรง และห่างไกลโรค
- ออกกำลังกายเป็นประจำ อย่างน้อยวันละ 30-45 นาที จะช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกันของร่างกาย กระตุ้นการทำงานของปอด และลดความเสี่ยงของการเกิดโรคต่างๆ ได้ด้วย
- รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ ควรรับประทานอาหารให้มีความหลากหลาย รับประทานอาหารบำรุงปอดบ่อยๆ และหลีกเลี่ยงอาหารที่ไม่มีประโยชน์กับร่างกายให้ได้มากที่สุด
- ไม่สูบบุหรี่ ควรงดสูบอย่างเด็ดขาดไปเลย นอกจากจะอันตรายกับตัวเองแล้ว ยังอันตรายกับคนรอบข้างด้วย
- ป้องกันตัวเองเสมอเวลาออกนอกบ้าน โดยเฉพาะคนที่อยู่ในพื้นที่เสี่ยง ที่มีฝุ่น P.M 2.5 เยอะ มีฝุ่นจากการก่อสร้างเยอะ ควรสวมหน้ากากอนามัยทุกครั้ง เพื่อป้องกันตัวเอง
- พักผ่อนให้เพียงพอ ควรนอนพักอย่างน้อยวันละ 8 ชั่วโมง เพื่อให้ร่างกายได้ซ่อมแซมตัวเอง
สรุปส่งท้าย
จะเห็นว่าปอดของเรามีความเสี่ยงถูกทำลายได้ทุกวัน จากการใช้ชีวิต และความเสี่ยงจากสิ่งแวดล้อม ดังนั้นการดูแลตัวเองให้ห่างไกล ด้วยการไม่ทำพฤติกรรมที่เสี่ยง และเริ่มทานอาหารบำรุงปอด จึงเป็นตัวช่วยที่ดีที่สุด ที่จะป้องกันไม่ให้เกิดโรคปอดและโรคที่เกี่ยวกับทางเดินหายใจ
คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับอาหารบำรุงปอด
โรคที่เกี่ยวกับปอด ล้วนอันตรายทั้งสิ้น โดยเฉพาะโรคมะเร็งปอด ซึ่งเป็นได้ง่าย จากพฤติกรรมการใช้ชีวิตของเรา และจะไม่แสดงอาการในระยะแรก จะมีอาการก็ต่อเมื่อมะเร็งเริ่มลุกลาม ซึ่งนั่นจะทำให้รักษาได้ยาก และมีโอกาสเสียชีวิตได้ง่ายมาก
แนะนำว่าให้เริ่มรับประทานอาหารบำรุงปอดได้ตั้งแต่ตอนนี้เลย เพื่อเป็นการเสริมสร้างการทำงานของปอด ลดความเสี่ยงของโรคที่จะเกิดขึ้นกับปอดและระบบทางเดินหายใจ อีกอย่างปอดของเรามีการใช้งานทุกวัน ต้องดูแลให้ดีตั้งแต่ตอนนี้ ไม่ควรรอให้เกิดโรคใดๆ ขึ้นก่อนแล้วค่อยมาดูแล ไม่เช่นนั้นอาจจะไม่ทันการก็ได้
วิธีที่ดีที่สุดก็คือการตรวจสุขภาพประจำปี อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง แต่โรคบางโรคต้องตรวจแบบคัดกรองเท่านั้น ถึงจะรู้ว่าเป็นโรคที่เราสงสัยหรือไม่ เช่น โรคมะเร็งปอด โรคที่เกี่ยวกับทางเดินหายใจอื่นๆ ฉะนั้นการตรวจคัดกรองก็สำคัญเช่นกัน หากเป็นโรคที่เราสงสัยจริงๆ ก็จะได้รักษาได้ทันเวลา โดยเฉพาะคนที่มีความเสี่ยงอยู่แล้ว เช่น คนที่ทำงานกับสารเคมี คนที่อยู่ในพื้นที่เสี่ยง คนที่สูบบุหรี่เป็นประจำ คนกลุ่มนี้ก็ควรตรวจคัดกรองอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง